วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ISSN นั้นสำคัญไฉน

โดย นางวนิดาพร ธิวงศ์ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ
วารสาร,นิตยสาร คือเพื่อนที่ดียามคุณเหงา ให้ทั้งความรู้ สาระ บันเทิงที่คุณชื่นชอบ แต่คุณเคยสังเกตหรือสงสัยบ้างไหมว่า ตรงมุมล่างด้านขวาของปกวารสารที่คุณอ่าน มีช่องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ข้างในบรรจุบาร์โคด์และมีตัวเลขกำกับอยู่บนนั้น มันคืออะไรกันแน่ สำคัญแค่ไหน มีประโยชน์อย่างไร ทำไมวารสารทุกเล่มจึงต้องมีตัวเลขนั้น
ISSN เป็นคำย่อของ Internation Standard Serial Number หมายถึงเลขมาตรฐานสากล สำหรับสื่อต่าง ๆ ที่มีกำหนดการออกเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงซื่อของหัวเรื่องเป็นสำคัญ ถ้าสื่อนั้นต่างภาษากันแม้เป็นเรื่องเดียวกันก็มี ISSN ต่างกัน ISSN จึงใช้เป็นตัวเลขมาตรฐานสากลแยกแยะหัวเรื่องสื่อต่าง ๆ ที่ออกมาเป็นรายคาบอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีกำหนดการยุติ
ปัจจุบัน ISSN มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส มีสมาชิก ISSN Center อยู่กว่า 70 ประเทศ และเนื่องจากการให้ ISSN เป็นตัวเลขที่ให้ลำดับของสื่อ (ทั้งสิ่งพิมพ์และไม่ใช่สิ่งพิมพ์) ของทั้งโลก จึงต้องมีเครือข่ายประสานกันเพื่อไม่ให้หน่วยงานให้เลขทะเบียนISSN ซ้ำกัน จึงมี ISSN Network เกิดขึ้น มีฐานข้อมูล ISSN เพื่อให้สมาชิกสามารถตรวจสอบได้
ประเทศไทย มีหน่วยงานดูแล ISSN คือ หอสมุดแห่งชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 ซึ่งนอกจากทำหน้าที่เป็น ISSN Centerในไทยแล้ว ยังเป็น ISSN CENTER ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ISDS-Sea Regional Center) มีหน้าที่ควบคุมและให้หมายเลข ISSN แก่อนุกรมสื่อต่าง ๆ ในอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิบปินส์ สิงค์โปร์และไทย
ประโยชน์ของการใช้รหัส ISSN มีมากมาย อาทิ สำนักพิมพ์ สามารถกำหนด ISSNสำหรับ
แต่ละชื่อของวารสาร นิตยสารไม่ให้ซ้ำซ้อนกับสำนักพิมพ์อื่น เพราใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน ห้องสมุด ซึ่งใช้ ISSN เป็นหลักในการตรวจสอบเช็คหนังสือ สั่งซื้อ บริหารจัดเก็บได้อย่างมีประสิทธิภาพ สถาบันการศึกษา
สามารถทำการค้นหาในหัวข้องานวิจัยได้แม่นยำ ด้วยการใช้ ISSN แยกแยะไม่ให้ซ้ำหัวเรื่องกัน ผู้จัดจำหน่ายและ ร้านค้าปลีก ใช้ ISSN ประกอบกับบาร์โค้ดและระบบคอมพิวเตอร์ใช้งานภายใน สามารถค้นหาหนังสือ ตรวจสอบยอดขาย รับสินค้า คืนสินค้าได้รวดเร็ว แม่นยำ มีประสิทธิภาพ สร้างระบบสารสนเทศที่ทันสมัยใน Supply Chain ได้ประโยชน์ในวงกว้างทั้งระบบ
ISSN ประกอบด้วยตัวเลข 8 หลัก และจะต้องมีตัวอักษร ISSN นำหน้าทุกครั้งเมื่อมีการตีพิมพ์ เพื่อให้รู้ว่ารหัสเหล่านี้เป็นเลขในระบบ แบ่งเป็น 7 หลักแรกเป็นเลข ISSN แท้ ๆ ส่วนหลักที่ 8 เป็น
ตัวเลขตรวจสอบ ดังตัวอย่าง “ ISSN 0125 – 1015 ”
สำหรับผู้อ่านวารสารอย่างเรา เมื่อทราบว่าวารสารที่อ่านเป็นประจำนั้น มีตัวเลขมาตรฐานที่มีฐานข้อมูล ISSN Network เชื่อมโยงกับนานาประเทศทั่วโลกนั้น เป็นสิ่งที่น่าทึ่งและต้องยอมรับถึงอำนาจเทคโนโลยีที่สามารถเชื่อมวิถีชีวิต ทั้งด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจและสังคมเข้าด้วยกันได้เพียงปลายนิ้วสัมผัส จริง ๆ ตัวสบายใจสนุก.............

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น