วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ประเพณีสืบชะตา

โดย นางสาวจิราพร มณฑาทอง นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ
การสืบชะตา คือการต่ออายุให้ยืนยาวต่อไป พิธีกรรมจะมีพระสงฆ์มาประกอบพิธี อาจจะเป็นการสืบชะตาคน สืบชะตาบ้าน สืบชะตาเมือง สืบชะตาแม่น้ำ หรือสืบชะตาป่า (การบวชป่า) แต่ในที่นี้
จะขอพูดถึงประเพณีสืบชะตาแม่น้ำ (หรือการยอคุณแม่น้ำ)
การสืบชะตาแม่น้ำ เป็นการประยุกต์มาจากพิธีสืบชะตาหมู่บ้าน ซึ่งจะเป็นการสร้างความสามัคคีและช่วยเหลือเกื้อกูลกันภายในหมู่บ้านทำให้เกิดความเลื่อมใส เคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปกป้องรักษาแม่น้ำ เกิดความรัก ความหวงแหนและสำนึกในการดูแลรักษาแม่น้ำ ตลอดจนต้นน้ำลำธาร ซึ่งก่อนที่จะทำพิธีสืบชะตาแม่น้ำ ชาวบ้านจะร่วมแรงร่วมในกัน ขุดลอกลำคลองและแหล่งน้ำ โดยใช้เครื่องไม้ เครื่องมือพื้นบ้าน ในวันทำพิธีจะมีการบวงสรวงเทวดา เพื่อเป็นการขอขมาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ปกปักรักษาแม่น้ำ
หรือชาวบ้านต้องการที่จะต่ออายุของแม่น้ำให้ยืนยาวออกไป เนื่องจากชาวบ้านมีวิถีชีวิต ผูกพันกับแม่น้ำ ในยามที่เห็นว่าแม่น้ำกำลังเปลี่ยนแปลงไป เช่น แม่น้ำแห้ง น้ำแล้ง หรือแม้แต่ปลาลดลง ชาวบ้านก็จะจัดพิธีสืบชะตาให้กับแม่น้ำ
เครื่องสืบชะตาประกอบด้วย
- กระโจมไม้สามขา
- ท่อนแสก เรียกว่าสะพานเงิน สะพานทอง อีกท่อนหนึ่งจะผูกติดด้วยไม้ค้ำท่อนเล็ก ๆ จำนวนพอประมาณแต่ลงท้ายด้วยเลข ๙
- เครื่องประกอบอื่น ๆ ได้แก่ กระบอกน้ำ หน่อกล้วย อ้อย ลูกมะพร้าว หม้อเงิน หม้อทอง เทียนถุง เมี้ยง บุหรี่ หมอกพูล ข้าวตอกดอกไม้รวมกันในด้ง
- บทสวดที่ใช้ในการสืบชะตาแม่น้ำ คือ บทสืบชะตาหลวง (อินทชาตา,ชินบัญชร อัฎฐอณหัสสและธรรมสาลาวิจารสูตร)
ดังนั้น เพื่อให้แม่น้ำซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญในการดำรงชีวิตของสรรพสิ่งในโลกไม่ว่าจะเป็น คน
สัตว์ หรือแม้กระทั่งต้นไม้ ให้เพียงพอกับความต้องการ เราจำเป็นต้องปกป้องรักษาแม่น้ำให้สะอาด เพื่อ
ประโยชน์ชุมชน หมู่บ้าน เป็นการสืบสานต่อไปเพื่ออนาคตของลูกหลานและมวลมนุษย์ชาติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น