วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

อร่อยๆกับอาหารล้านนา ๘



สวัสดีครับ พบกันเดือยสิงหาคม เป็นเดือนที่สำคัญเดือนหนึ่ง ซึ่งเป็นเดือนที่มีวันแม่แห่งชาติ วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เราเหล่าลูกหรือบางท่านเป็นเหล่าแม่ มาทำอาหารทานในครอบครัวสร้างความอบอุ่นสร้างความรักในครอบครัวกัน นะครับ อ่านซึ่งเป็นภูมิปัญญาของชาวเหนือเราที่จะแนะนำในวันนี้ คือ น้ำพริกจี้กุ่ง หรือน้ำพริกจิกุ่ง ซึ้งเป็นน้ำพริกที่มีลักษณะค่อนข้างแห้งถึง พริกที่นิยมใช้คือ พริกหนุ่ม จะใช้จิกุ่งต้มหรือย่างไฟก็ได้ (สุมาลี ทะบุญ, สัมภาษณ์, 27 มิถุนายน 2550)
พอพูดถึงน้ำพริกจิกุ่งก็ต้องมาทำความรู้จักเจ้าจิกุ่ง กันก่อนจะนำมาทำน้ำพริก ผมรู้จักครั้งแรกจำได้ว่าสมัยเด็ก ในสวนผักข้างบ้านของคุณตาและคุณยายของผมที่จังหวัดแพร่ ผมได้ยินเสียงร้องของแมลงชนิดหนึ่งคล้ายๆของจิ้งหรีด ผมถ้าตาว่าเสียงจิ้งหรีดหรือเปล่าตาบอกว่าไม่ใช่ มันคือจิกุ่ง พรุ่งนี้จะพาไปขุดกัน วันรุ่งขึ้นคุณตานำจอบ มาให้แล้วเดินไปที่สวน แล้วมองหาอะไรสักอย่างบนพื้น ผมสงสัยหาอะไรอยู่พอดีมองเห็นขี้ดินกองอยู่บนปากรู้รู้ใหญ่ประมาณนิ้วหัวแม่มือ คุณตาเริ่มขุดขุดได้สักพักก็เจอจิ้งหรีดขนาดใหญ่ กระโดดขึ้นมา พอจับได้ผมบอกจิ้งหรีดยักษ์ แต่คุณตาบอกว่านี้ละจิกุ่ง มันตัวใหญ่มาก นี้เป็นครั้งแรกที่ผมรู้จักกับจิกุ่ง
ชื่อเป็นทางการที่เรียกกัน จิกุ่งหรือจิ้งโกร่ง เป็นแมลงวงค์เดียวกันกับจิ้งหรีด ( Family Gryllidae) อยู่ในอันดับอาร์ทอพเตรา (Order Orthoptera) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Brachytrupes portentosus Licht. บางแห่งเรียกจิ้งโกร่งว่า จิ้งหรีดโกร่ง จิ้งหรีดโป่ง ทั้งนี้เนื่องจากว่าเป็น จิ้งหรีดขนาดใหญ่กว่าจิ้งหรีดทั่วไป คือมีลำตัวยาว ๔.๕ ซม. กว้าง ๑ ซม. จิกุ่งมีสีน้ำตาลตลอด เป็นแมลงกินพืชและผักต่างๆ อาศัยอยู่ในดิน โดยขุดรูอยู่ ออกหากินในเวลากลางคืน (โครงการพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
สื่อปฏิสัมพันธ์วัฒนธรรมของชาติ)
หลังจากรู้จักเจ้าจิกุ่งกันแล้ว มารู้จักวิธีทำ น้ำพริกจิกุ่ง

ส่วนผสม
1. จี้กุ่งต้ม 7 ตัว
2. พริกหนุ่มย่างไฟ 7 เม็ด
3. กระเทียมย่างไฟ 10 กลีบ
4. หอมแดงย่างไฟ 5 หัว
5. เกลือ 1/2 ช้อนชา
วิธีทำ
1. ย่างพริกหนุ่ม หอมแดง และกระเทียมให้สุก แกะเปลือกออก พักไว้
2. โขลกเกลือ หอมแดง กระเทียม และพริกหนุ่ม รวมกันให้ละเอียด
3. ใส่จี้กุ่งต้ม โขลกคนให้เข้ากัน

เคล็ดไม่ลับ
ก่อนต้มต้องนำจิกุ่ง ไปเอาใส่และขี้ออกก่อน
ประโชนย์ทางอาหาร
จิกุ่ง มีโปรตีนสูงถึง 12 % สามารถน้ำมาปรุงอาหารได้หลายอย่าง เช่น น้ำพริกนรก หรือนำไป ทอดในตลาดตกตัวละ 1.50 – 2.00 บาท จับหาจิกุ่ง คือ ช่วงเดือนสิงหาคม ถึง พฤศจิกายน

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

อร่อยๆกับอาหารล้านนา ๗

สวัสดีครับ พบกันนี้สำหรับการแนะนำอาหารของภาคเหนือของเดือนกรกฎาคม เดือนก็เป็นเดือนที่มีวันสำคัญทางศาสนา ๒ วัน คือ วันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา ชาวบ้านก็จะมีการทำอาหารนำไปวัดกันผมจำได้เมืองยังเด็กจะมีการทำอาหารรสแปลกมีกลิ่นเครื่องเทศ มีสีสันเหมือนมัสมั่น มีถั่วเหมือนกันทานตอนแรกทำไม่ออกเผ็ดๆร้อนๆมีขิงด้วย แต่ว่าอร่อยมากจำได้เลยว่าทานข้าวไปหลายจาน ถามน้าๆว่าแกงอะไรคำตอบที่ได้ เป็น “แกงฮังเล”ผมบอกว่าอร่อยถ้าให้พูดแบบเหนือ ลำแต้ๆ ตั้งแต่นั้นผมก็ชอบให้น้าทำให้ทานเมื่อได้มาบ้านตาทุกครั้ง ที่นี้มารู้ความหมายและความเป็นมาพร้อมกับวิธีทำ เจ้าแกงฮังเล กันนครับ โดยผมได้รวบรวมจากแหล่งข้อมูลต่างๆ มาครับ

แกงฮังเล มี ๒ ชนิด คือ แกงฮังเลม่าน และ แกงฮังเลเชียงแสน เชื่อกันว่าเป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลมาจากพม่า สำหรับแกงฮังเลเชียงแสนจะแตกต่างตรงที่มีถั่วฝักยาว มะเขือยาว พริกสด หน่อไม้ดอง งาขาวคั่ว เพิ่มเข้ามา (รัตนา พรหมพิชัย,๒๕๔๒,หน้า๔๙๐) และใช้เป็นส่วนผสมของแกงโฮะ (เทียนชัย สุทธนิล, สัมภาษณ์, ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๐)

แกงฮังเล เป็นอาหารหลัก บางตำราจะใส่กระท้อนลงในแกง โดยหั่นเป็นชิ้นหนา หรือหั่นสี่เหลี่ยมขนาด ๑ นิ้ว หรือบางตำราจะใส่สันปะรดหั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยม ๑ นิ้ว แกงฮังเลเป็นแกงของพม่า แพร่หลายเข้ามาทางภาคเหนือ พม่าเจ้าของตำรับจะรับประทานแกงฮังเลกับกล้วยไข่

ส่วนผสมแกงฮังเล
. เนื้อสันคอหมู ๓๐๐ กรัม
. เนื้อหมูสามชั้น ๒๐๐ กรัม
. น้ำอ้อยป่น ช้อนโต๊ะ
. น้ำมะขามเปียก ช้อนโต๊ะ
. ขิงซอย / ถ้วย
. กระเทียม / ถ้วย
. ถั่วลิสงคั่ว ช้อนโต๊ะ
. สับปะรด ช้อนโต๊ะ
. ผงฮังเล ช้อนโต๊ะ

เครื่องแกงแกงฮังเล
. พริกแห้ง เม็ด
. พริกขี้หนูแห้ง เม็ด
. หอมแดง หัว
. กระเทียม ๒๐ กลีบ
. ตะไคร้ซอย ช้อนโต๊ะ
. ข่าซอย ช้อนโต๊ะ
. เกลือ ช้อนชา
. กะปิหยาบ / ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

.โขลกเครื่องแกงทั้งหมดรวมกันให้ละเอียด
. หั่นหมูทังสองอย่างเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมขนาดพอคำ เคล้าด้วยซีอิ้วดำแล้วนำเครื่องแกงใส่กับหมู เคล้าเข้าด้วยกัน หมักไว้ประมาณ ๑ ชั่วโมง
. ใส่หมูลงในหม้อ ใช้ไฟอ่อนๆ ผัดพอหมูตึงตัวใส่น้ำลงในหม้อ ปิดฝาตั้งเคี่ยวไปเรื่อยๆ
. ใส่กระเทียมที่ปอกเปลือกเป็นกลีบ ใส่ผงแกงฮังเลหรือผงกะหรี่ ตั้งเคี่ยวจนหมูนุ่ม และน้ำงวดข้นคล้ายแกงมัสมั่น
. ใส่ขิง ทุบให้พอสุก ปรุงรสด้วยน้ำมะขามเปียก ชิมรสให้ได้ ๓ รส เปรี้ยว เค็ม เผ็ด ถ้าอ่อนเค็มให้เติมเกลือ

ไม่ลับเคล็ดลับในการปรุง
- การคั่วเครื่องแกง ใช้ไฟปานกลาง ใช้เนื้อกระท้อนแทนมะขามเปียกได้ ให้รสชาติเปรี้ยว และมีกลิ่นหอม
- หมูสามชั้น ควรเลือกที่มันไม่หนาเกินไป หรือเลือกใช้ซี่โครงหมูแทน ก็ได้

ประโชนย์ทางอาหาร
จะเห็นว่าแกงฮังเลนี้จะเป็นอาหารที่ค่อนข้างมีไขมัน แต่ในขณะเดียวกันก็จะใช้สับปะรดช่วยลดความรู้สึกเลี่ยนมันของหมูสามชั้น และช่วยเพิ่มเส้นใยอาหาร อีกทั้งยังมีขิงช่วยเติมรสชาติ การรับประทานแกงฮังเลจะได้ทั้งพลังงานจากเนื้อหมู มันหมู ช่วยให้ความอบอุ่นเหมาะกับสภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็น นอกจากนั้นยังจะได้แคลเซียม ฟอสฟอรัส แบต้า-แคโรทีน วิตามินบีสอง จากขิงอีกด้วยแกงฮังเล ๑ ชุด ให้พลังงานต่อร่างกาย ๓๗๔๐ กิโลแคลอรี

ชิตพร พูลประสิทธิ์ นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

อร่อยๆกับอาหารล้านนา ๖

มาถึงเดือนมิถุนายนเข้าฝนเต็มตัวมีฝนตกทุกเย็นนาข้าวน้ำนองชาวนาเริ่มหว่านข้าวทำกล้าช่วงนี้ทำให้นึกถึงสมัยเด็ก ผมเคยตามตาไปนาที่เริ่มปลักกล้ากัน พวกเด็กที่ว่างๆไม่ช่วยงานอย่างผมและพี่ๆน้องก็มีหน้าที่อีกอย่างคือจับปูนากัน ตอนแรกผมก็คิดว่าเอาปูนามาทำอะไรแยะๆ เอามาทำปูเค็มตำส้มตำหรือเปล่า แต่พากลับมาบ้านพวกเราก็นำปูมาขังไว้ไม่เป็นทำอะไรตั้ง ๒-๓ วัน ผมสงสัยก็เลยถามตาว่าขังเอาไว้ทำไม ตาบอกว่าขังไว้ให้มันคายดินโคลนออกจะได้สะอาด ผมก็ถามต่อว่าแล้วจะเอาปูไปทำอะไร ตาบอกว่าเอาไปทำน้ำปู๋ ผมก็นึกถึงกระปุกฝาแดงที่ของสีดำๆอยู่ข้างในคล้ายๆกะปิ เห็นยายชอบใส่ในส้มตำ แล้วส้มตำทำให้ส้มตำทางเหนือออกดำๆ

ผมว่าเรามารู้จักน้ำปู๋และวิธีทำน้ำปู๋กัน โดยมีผู้ให้ความหมายว่า น้ำปู อ่านว่า น้ำปู๋ เป็นอาหารดั้งเดิมของชาวล้านนา ใช้เป็นเครื่องปรุงรสอาหารบางอย่าง เช่นเดียวกับกะปิ โดยมากจะทำน้ำปูในช่วงฤดูฝน หรือฤดูทำนา ชาวล้านนา นิยมนำน้ำปูมาตำน้ำพริก เรียกว่า น้ำพริกน้ำปู ใช้เป็นเครื่องปรุงอาหาร เช่น ยำหน่อไม้ แกงหน่อไม้ ตำส้มโอ ตำกระท้อน (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 3247)

ส่วนผสม

๑. ปูนา๓-๔กิโลกรัม
๒. ใบฝรั่ง ใบตะไคร้ หรือใบข่า๑/๒ถ้วย
๓. เกลือเมล็ด ๑ ๑/๒ ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

๑.นำปูมาทำความสะอาด แล้วตำในครกที่เรียกว่าครกมอง หรือครกกระเดื่อง
๒.ใส่ใบฝรั่ง ใบตะไคร้ หรือใบข่าตำผสมให้ละเอียด
๓.นำมากรองด้วยผ้าขาวลงในหม้อดิน
๔.หลังจากที่กรองเสร็จนำกากปูที่ได้มาตำซ้ำอีก 2 ถึง 3 ครั้ง แล้วกรองลงในหม้อดินอีก
๕.หลังจากนั้นจะได้น้ำปูดิบ นำไปตั้งไฟเคี่ยวจนน้ำปูเกือบแห้ง แล้วก็จะเติมเกลือ
๖.ทิ้งไว้จนเย็นน้ำปูแห้งจะจับกันเป็นก้อนสีดำ ชาวบ้านจะนำมาใส่ ออม หรือกระปุก

เท่านี้ก็จะได้น้ำปู๋ที่ต้องการเพื่อเป็นการถนอมอาหารเพื่อเก็บไว้กินเป็นเวลาเเรมปี โดยในน้ำปู๋นั้นให้พลังงาน โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต ใยอาหาร

เคล็ดไม่ลับ
- การเคี่ยวนั้นจะใช้ไฟเเรงก่อนเเละค่อยๆ ลดไฟลง คนทำต้องหมั่นคนอยู่เสมอมิฉะนั้นจะทำให้น้ำปูล้นหม้
- ต้องใช้ปูเป็น ในการทำน้ำปู

- บางสูตรใช้ใบขมิ้นซอย

อ้างอิง

นางนิตยา บุญทิม นักวิจัย ชำนาญการ ระดับ 8 หน่วยวิจัยจุลชีววิทยาประยุกต์ สถาบันวิจัยเเละพัฒนาวิทยาศาสตร์ เเละเทคโนโลยี

รัตนา พรหมพิชัย. น้ำปู. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ (เล่ม 6, หน้า 3247). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

ชิตพร พูลประสิทธิ์ นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ

วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

อร่อยๆกับอาหารล้านนา ๕


เข้าหน้าฝนแล้วฝนเริ่มตกสิ่งที่มากับสายฝนคือชีวิตต่างๆที่เริ่มขึ้นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่มากับที่มากับฝนตกจนน้ำเริ่มท่วมขังเป็นครึ่งบกครึ่งน้ำที่มีเสียงดังมากจนทำให้ชาวบนต้องออกมาไล่จับก็คือ กบ เขียด หรือปาด มันออกมาหลังฝนตกส่งเสียร้องหาคู่ เมื่อจับคู่ผสมพันธุ์เรียบร้อย ก็วางไข่ไว้ตามแหล่งน้ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งตามท้องนาที่ชาวบ้านมีการเริ่มไถ่นาเตรียมนาขังนำไว้หรือแม่แต่เริ่มปักดำนากัน หลังจากนั้นไข่จำนวนมากก็เริ่มเป็นลูกอ๊อดหรือทางเหนือเรียกอีชื่อว่าลูกอ๊อดหรือทางเหนือเรียกว่า อี่ฮวก ถ้าเป็นลูก อ๊อดกบ เรียก อี่ฮวกกบ ถ้าเป็นลูกอ๊อดเขียด เรียก อี่ฮวกเขียด เป็นที่นิยมของชาวเหนือในการนำมารับประทานเป็นอาหารกัน โดยอี่ฮวกกบชอบมากกว่าอี่ฮวกเขียด นำมาปรุงเป็น แอ็บ และน้ำพริก เป็นส่วนผสมในแกงหน่อไม้ดอง แอ็บอี่ฮวก มีวิธีการปรุงเช่นเดียวกับแอ็บอ่องออ แอ็บกุ้ง แอ็บหมู ทำให้สุกโดยปิ้งหรือย่าง ด้วยไฟอ่อนๆ จนข้างในสุก เรามาดูส่วนผสมและวิธีการทำกันครับ

ส่วนผสม

.ลูกอ๊อด ๒๐๐ กรัม
.ใบขิง ๑/๒ ถ้วย

เครื่องปรุง

.พริกขี้หนู ๒๐ เม็ด
.หอมแดง ๑๐
หัว
.กระเทียม ๒๐ กลีบ
.ตะไคร้ซอย ช้อนโต๊ะ
.ข่าหั่น ช้อนโต๊ะ
.ขมิ้นหั่น ช้อนโต๊ะ
.กะปิ ๑/๒
ช้อนโต๊ะ
.เกลือ ๑/๒ ช้อนชา

วิธีทำ

๑. โขลกเครื่องแกงรวมกันให้ละเอียด
. ล้างลูกอ๊อดให้สะอาด ใส่ภาชนะ ใส่เครื่องแกงลงคลุกเคล้าให้เข้ากัน
. ใส่ใบขิงซอย คลุกเคล้าให้เข้ากัน
. เตรียมใบตอง กว้าง 8 นิ้ว วางซ้อนกันสองชั้นสลับหัวท้าย ตักส่วนผสมใส่ลงตรงกลางใบตอง
. ห่อเป็นรูปสี่เหลี่ยม ใช้ไม้กลัด กลัดใบตองให้ติดกัน
. นำไปย่างไฟอ่อนๆ
. ย่างจนกระทั่งใบตองเหลืองเกรียม คอยกลับด้าน ใช้เวลาประมาณ ๓๐-๔๕ นาที

เคล็ดไม่ลับ

การเอาของเสียออกจากท้องลูกอ๊อด ให้ใช้ขี้เถ้าโดยการเอามือแตะขี้เถ้าก่อนเพื่อบีบของเสียออกได้ง่าย

อ้างอิงจาก

รัตนา พรหมพิชัย. (๒๕๔๒). แอ็บ. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ (เล่ม ๑๕, หน้า ๘๑๑๑-๘๑๑๒).กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

วันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2554

อร่อยๆกับอาหารล้านนา ๔


สวัสดีครับครั้งที่แล้วผมได้กล่าวถึง คั่วจิ๊นส้ม หรือคั่วแหนม หรือผัดแหนม แต่ยังไม่พูดถึงวิธีทำจิ้นส้มแต่ก่อนจะมาดูวิธีทำจิ้นส้ม ความเป็นมาของจิ้นส้ม ก่อนนะครับ

จิ๊นส้มรือ แหนม ทำมาจากเนื้อสัตว์ครับ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อควาย เรียกชื่อตามเนื้อสัตว์ เช่น จิ๊นส้มหมู จิ๊นส้มงัว จิ๊นส้มก้าง ปัจุจุบัน นิยมใช้เนื้อหมู บางแห่งเรียก หมูส้ม สามารถนำมารับประทานเป็นกับข้าว หรือนำไปปรุงอาหารได้หลายชนิด เช่น คั่วจิ๊นส้มใส่ไข่ เจียวผักปลัง และคั่วฟักเพกาอ่อน (อุดม รุ่งเรืองศรี, 2542, หน้า 1879; เสาวภา ทาแก้ว, สัมภาษณ์, 2 กรกฎาคม 2550)

ส่วนผสม

๑.เนื้อหมูบด กิโลกรัม

๒.หนังหมู ๑๐๐ กรัม

๓.กระเทียม ๒๐ กรัม

๔.เกลือ ช้อนโต๊ะ

๕.ข้าวนึ่งหรือเรียกอีกอย่างว่าข้าวเหนียว ถ้วย

วิธีทำ

. โขลกกระเทียมและเกลือป่น และนำคลุกเคล้ากับหมูบด
. ใส่ข้าวนึ่ง คลุกเคล้าให้เข้ากัน

. ใส่หนังหมูลงคลุกเคล้าให้เข้ากัน

. เตรียมใบตอง ๘ x ๑๐ นิ้ว ซ้อนกัน ๔ แผ่น นำส่วนผสมใส่ใบตอง

. ห่อใบตองให้แน่น แล้วห่อใบตองอีกหนึ่งชั้น

. ใช้ไม้กลัด กลัดใบตอง ทิ้งไว้ ๒-๓ วัน จึงนำมารับประทานหรือนำมาปรุงอาหารได้

เคล็ดไม่ลับ

- เลือกเนื้อสันคอมาทำจิ๊นส้ม เพราะเนื้อนุ่มกว่าส่วนอื่นๆ

- ก่อนนำไปรับประทานถ้าจะให้จิ้นส้มมีความหอมอร่อยและปลอดภัยขึ้นขอแนะนำให้นำไปย่าง ไฟอ่อนให้สุขทั่วก่อนนะครับ หรือทางเหนือเรียกว่า จิ้นส้มหมก

อ้างอิงจาก

อุดม รุ่งเรืองศรี. (2542). ชิ้นส้ม. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ (เล่ม 4, หน้า 187)

กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

ชิตพร พูลประสิทธิ์ นักจัดการงานทั่วไปชำนาณการ

วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2554

อ่รอยๆกับอาหารล้านนา ๓

อากาศร้อนแบบนี้คิดถึงอาหารที่สุกด้วยการหมักหรือใช้ความร้อนที่เกิดขึ้นในการทำให้สุกก็จะเป็นอะไรไม่ได้นอกจากแหนมชนิดต่างๆ ซึ้งจะใช้การหมักจากเชื้อจุลินทรีย์กลุ่มแล็กโตบาซิลลัส ทำให้แหนมมีรสชาติเปรี้ยวเป็นภูมิปัญญาในการถนอมอาหาร ทางเหนือเรียกแหนมว่า ชิ้นส้ม อาจทำมาจากเนื้อสัตว์ต่าง ๆ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อควาย เป็นต้น ซึ่งจะเรียกตามเนื้อสัตว์ที่นำมาทำเช่น ชิ้นส้มหมู ชิ้นส้มงัว ชิ้นส้มค่าง ( อ่าน ‘' จิ้นส้มก้าง ‘') ชิ้นส้ม เป็นอาหารดิบ จึงอาจมีพยาธิและแบคทีเรีย ดังนั้นควรปรุงให้สุกก่อนบริโภค
อาหารทางเหนือที่ใช้ชิ้นส้มเป็นส่วนประกอบก็ คือ คั่วจิ๊นส้ม หรืคั่วแหนม หรือผัดแหนม นิยมผัดใส่ไข่ไก่ และวุ้นเส้น ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุ มักนิยมผัดใส่บ่าลิดไม้ หรือผัดแหนมใส่ฝักเพกาอ่อนย่างไฟ ซึ่งนำลอกเปลือกออก และหั่นย่อย

ส่วนผสม

.จิ๊นส้ม ๑๐๐ กรัม
.วุ้นเส้น / ถ้วย
.ไข่ไก่ ฟอง
.หอมหัวใหญ่ หัว
.ต้นหอม ต้น
.พริกชี้ฟ้าแดง เม็ด
.กระเทียมดอง หัว
.กระเทียมสับ ช้อนโต๊ะ
.น้ำมันพืช ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ
. เจียวกระเทียมกับน้ำมัน จนมีกลิ่นหอม ใส่แหนม ลงผัด
. ใส่หอมหัวใหญ่ ผัดให้เข้ากัน
. ใส่วุ้นเส้น ผัดจนวุ้นเส้นสุก
. ใส่ไข่ไก่ ผัดให้เข้ากัน
. ใส่พริกชี้ฟ้า ต้นหอม มะเขือเทศ และกระเทียมดอง ผัดให้เข้ากัน พอสุก ปิดไฟ

อ้างอิงจาก
รัตนา พรหมพิชัย. (๒๕๔๒). แอ็บ. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ (เล่ม ๑๕, หน้า ๘๑๑๑-๘๑๑๒).กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

ชิตพร พูลประสิทธิ์ นักจัดงานงานทั่วไปชำนาญการ

วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

อร่อยๆกับอาหารล้านนา ๒ ข้าวกั้นจิ้น

wwwwwwwสวัสดีครับพบกันอีกครั้งในหลังจากนำเสนอขนมเส้นน้ำเงี้ยวไปแล้ว ของอีกอยากที่จะแนะนำเป็นสิ่งที่ทานกับขนมเส้นน้ำเงี้ยวซึ่งจะขาดไม่ได้เด็ดขาด นั้นคือ ข้าวกั้นจิ้น สมัยเด็กผมจำได้ว่า ครั้งแรกที่เห็นผมคิดในใจว่าข้าวอะไรนะดำๆ คิดว่าเป็นข้าวเหนียวดำ แต่พอทานคำแรกไม่ใช่แต่รสชาติอร่อยดีเค็มๆมันๆ พอถามน้าๆเขาบอกว่า สิ่งนี้เรียกว่า ข้าวเงี้ยว ท่านบางคนอาจจะเคยทานกันบางนะครับ มาทำความรู้จักอาหารนี้กัน
wwwwwwwข้าวกั้นจิ้น เป็นอาหารเหนือ คำว่า กั๊น เป็นคำเมืองแปลว่า นวด บีบหรือคั้น ส่วนคำว่า จิ้น ก็คือเนื้อหมูแต่ สำหรับบางคนมักเรียกว่า" ข้าวเงี้ยว " หรือ “ข้าวส้มเงี้ยว” อันเป็นคำที่คนไทยในอดีตใช้เรียกชาวไทยใหญ่ว่า "เงี้ยว" ข้าวกั้นจิ้นนิยมบริโภคแพร่หลายในภาคเหนือ ถือเป็นหนึ่งในอาหารอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวไทยใหญ่และเป็นอาหารล้านนาข้าวกั้นจิ้น มีวิธีทำที่ไม่ยาก
ส่วนประกอบ

วิธีทำ
๑. คั้นเลือดกับใบตะไคร้ เพื่อดับคาวเลือด พักไว้
๒. หุงข้าว สุกแล้วตักข้าวผึ่งไว้พออุ่น ใส่เกลือ น้ำตาลทราย และน้ำมันกระเทียมเจียว
๓. ใส่หมูสับ ตามด้วยเลือดหมู
๔. คลุกเคล้าส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน
๕. เตรียมใบตองฉีกกว้างขนาด 10 นิ้ว วางซ้อนกัน 4 ชั้น ใส่ส่วนผสมลงตรงกลางห่อ
๖. จับปลายใบตองชิดกัน ม้วนพับใบตองลงให้แน่น พับหัวพับท้าย
๗. มัดด้วยตอกให้แน่น (ตอก คือไม้ไผ่ที่จักบางๆ เพื่อใช้ใช้ในการสานเครื่องใช้หรือผูกสิ่งของต่างๆ)
๘. นึ่งในลังถึง ประมาณ 30 นาที

หมายเหตุ
- บางแห่งไม่มีการใส่เลือดแต่ใช้เฉพาะหมูบด ข้าวจะออกมาสีขาว
-ข้าวกันจี้นนี้จะมีเครื่องเคียง คือพริกขี้หนูแห้งทอด หอมหัวใหญ่ กระเทียมเจียว หรือแตงกวา

อ้างจาก
http://library.cmu.ac.th
http://www.lannashoppingmall.com

สวัสดีครับ
เขียนโดย นายชิตพร พูลประสิทธิ์ นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง



วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554

อร่อยๆกับอาหารล้านนา ๑ (เข้าหนมเส้นน้ำเงี้ยว)


""""""""สวัสดีครับพบกันอีกครั้งในปีใหม่ จากที่ผมเขียนเรื่องขนมล้านนาต่างๆมาหนึ่งปี คงได้รับรู้จักกันไปไม่มากก็น้อยด้วย ปี ๒๕๕๔ ทั้งปีผมจะหาอาหารนานชนิดของทางล้านนามานำเสนอ เริ่มด้วยอาหารชนิดแรกที่พอกล่าวถึงก็จะรู้ทันที่ว่าเป็นอาหารทางเหนือ นั้นคือ “ขนมจีนน้ำเงี้ยว” หรือชื่อเมืองว่า “เข้าหนมเส้นน้ำเงี้ยว” พูดถึงน้ำเงี้ยวก็จะมีสูตรมากมายหลายหลากไปที่แบ่งเห็นชัดคือ น้ำเงี้ยวที่เป็นแบบน้ำสีแดง และน้ำใส ผมได้ทานน้ำเงี้ยวครั้งแรกเป็นประเภทน้ำใสครับ เป็นน้ำต้มกระดูกหมู่ใส่เลือกและก็หมูสับ ผมจำได้ผมทานไปประมาสิบกว่าห่อในวันนั้นโดยไม่ทานข้าวอื่นเลย มันอร่อยดีครับ แต่พอมาหลังก็จะได้ทานน้ำเงี้ยวที่ใสเครื่องแกงที่มีการผัดมากว่ามีพริกใสทำให้น้ำสีออกแดงๆ ที่จะนำเสนอสูตรแรก กับอร่อยๆกับอาหารล้านนา ๑ โดยสูตรเครื่องปรุงจะแบ่งเป็น ส่วนเครื่องแกง และส่วนของตัวแกงครับ
ส่วนประกอบ
๑. ซี่โครงหมูชิ้นเล็ก
๒. เนื้อหมูสับละเอียด
๓. เลือดหมูต้มสุกหั่น
๔. ถั่วเน่าปิ้ง
๕. พริกขี้หนูแห้งทอด
๖. กระเทียมเจียว
๗. ขนมจีน
๘. ผักกาดดองหั่นฝอย
๙. ผักชี
๑๐. มะเขือเทศลูกเล็ก
๑๑. ถั่วงอก
๑๒. ต้นหอม
๑๓. ดอกงิ้วคั่ว
๑๔. แคปหมู
๑๕. เกลือ น้ำมันพืช
เครื่องน้ำพริก
๑. พริกแห้งเม็ดใหญ่ผ่าเมล็ดออก 7 เม็ด
๒. ข่า 1 แว่น
๓. หอมแดง 5 หัว
๔. กระเทียม 10 กลีบ
๕. รากผักชี 1 ช้อนชา
๖. กะปิ 1 ช้อนชา
วิธีทำ
๑. ต้มซี่โครงหมูเป็นน้ำซุปหรือใช้น้ำซุปก้อน เติมเกลือนิดหน่อย
๒. โขลกเครื่องน้ำพริกให้ละเอียด โขลกถั่วเน่าปิ้งพอหยาบๆ
๓. ผัดน้ำพริกแกงให้หอม ใส่เนื้อหมูสับ มะเขือเทศ ดอกงิ้ว ผัดให้เข้ากันตักใส่ในหม้อต้มซี่โครงหมู
๔. ปรุงรสด้วยน้ำปลา พอเดือดยกลง
๕. จัดขนมจีน ผักกาดดอง ถั่วงอก พริกขี้หนูแห้งไว้ในจาน เสิร์ฟคู่กับน้ำปรุงและตกแต่ง
๖. ปรุงรสเพิ่มเติมด้วยมะนาว กระเทียมเจียว ผักชี ต้นหอม

อ้างจาก http://www.hilunch.com/
สวัสดีครับ
เขียนโดย นายชิตพร พูลประสิทธิ์ นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง