ชื่อทางวิทยาศาสตร์ (Scientitific Name) Leguminosae
ชื่อวงศ์ : Caesaipinia Mimosoides
ลักษณะทั่วไป
ผักปู่ย่า เป็นพืชประเภทไม้ถาชนิดหนึ่ง พบทั่วไปในป่าละเมาะ ป่าเต็งรัง และป่าผสมผลัดใบ ใบและลำต้นคล้ายผักชะอม เมื่อแก่จัดหลังจากให้ดอกและเมล็ดแล้ว ลำต้นจะค่อย ๆ แห้งตาย
และจะงอกใหม่เมื่อถึงฤดูฝนอีกครั้งหนึ่ง ดอกของผักหนามปู่ย่ามีสีเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อ ยอดอ่อน
และก้านจะมีสีแดง หรือน้ำตาลเข้ม มีหนามแหลมตามกิ่งก้าน เหมือนหนามดอกกุกลาบ
การนำมารับประทาน
จะหาเก็บได้ตามป่าละเมาะ ป่าเต็งรัง และป่าผสมผลัดใบ หรือหาซื้อตามตลาดชนบทภาคเหนือทั่วไป ที่อำเภอแม่ทะมีที่บ้านหนามปู่ย่า หมู่ที่ ๘ ตำบลนาครัว อำเภอแม่ทะ มีขายรวมกับผักชนิดอื่น เช่น ยอดมะม่วง ยอดชะมวง ซึ่งเราเรียกลักษณะของผักที่มัดรวมกันนี้ว่า ผักแพะ เนื่องจากคำว่าแพะในภาษาท้องถิ่น ภาคเหนือ หมายถึง ป่าละเมาะ หรือป่าโปร่ง
นิยมนำมารับประทานสดได้เลยไม่ต้องลวก หรือทำให้สุก มีกลิ่นหอมชวนรับประทาน
รสฝาดอมเปรี้ยว นำยอดอ่อนมาเป็นผักจิ้ม กับแกงหน่อไม้สด แกงหน่อไม้ดอง ยำหน่อไม้ ไม่ต้องเด็ดหนามออก หรือ เด็ดเป็นท่อนเล็ก ๆ ยำหรือส้า รวมกับผักแพะชนิดอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่ายำผักแพะ นอกจากยอดอ่อนแล้ว ส่วนดอกที่มีสีเหลืองก็นิยมนำมาส้าหรือยำก็ได้เช่นกัน
ประโยชน์
มีคุณค่าทางโภชนาการ เป็นผักที่มีวิตตามินซีสูง
การขยายพันธ์ ๑. ใช้รากหรือหัว ๒. ใช้เมล็ด
ผู้ให้ข้อมูล คุณประวีณา มังคะวงค์
๑๗๘/๒ หมู่ที่ ๘ บ้านหนามปู่ย่า
ต.นาครัว อ.แม่ทะ จ.ลำปาง
-----------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น