วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ภูมิปัญญา “งานจักสาน”

สังคมไทยในอดีตเป็นสังคมเกษตรกรรมที่ผู้คนสามารถผลิตปัจจัยในการดำรงชีวิตได้
เป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร หรือเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ “งานจักสาน” หรือเครื่องจักสานเป็นงาน
หัตถกรรม และศิลปหัตถกรรมที่คนในท้องถิ่น สร้างขึ้นเพื่อความศรัทธา และใช้ประโยชน์เป็นเครื่องยังชีพ
หรือการนำมาใช้สอย และเพื่อความสวยงาม โดยชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่นคิด และประดิษฐ์ขึ้นมาเป็นของใช้
เป็นภูมิปัญญาที่เกิดขึ้นเฉพาะท้องถิ่นนั้น ประโยชน์ที่ได้จากงานจักสาน เพื่อใช้สอยแล้วยังสะท้อนวัฒนธรรม
ซึ่งเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ และภูมิปัญญาของชาวบ้านได้ดีอีกด้วย
การทอเมี่ยง (สานซ้าใส่เมี่ยง หรือตะกร้าใส่เมี่ยง) เป็นงานจักสานของ อำเภอเมืองปาน
จังหวัดลำปาง เป็นอาชีพดั้งเดิมที่สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน
วิธีทำ นำไม้ไผ่บงมาจักเป็นเส้นให้ได้ขนาดเท่ากัน การทำตะกร้าให้ทำฐานตะกร้าก่อนโดยใช้ไม้ไผ่ที่จักเป็นเส้นแล้วความยาวประมาณ ๑.๗๐ เมตร ใช้ไม้ไผ่ที่จักแล้วสานขึ้นเป็นรูปตะกร้าไม้มี
ความยาวประมาณ ๓ เมตร การสานให้สานก้นตะกร้าเป็นรูปวงกลมขึ้นมาก่อน การสานโดยสานไขว้กันไปมาตรงก้นให้สานหนาทึบ นำไม้ไผ่ที่จักเป็นเส้น ๒ เส้น มาวางคู่กันที่ฐานก้นตะกร้าและให้อยู่ในแนวตั้งนำ
ไม้ไผ่เส้นยาวสานทับไว้เพื่อยึดเส้นไม้ไผ่ทำจนทั่วตะกร้าสานทึบจนเต็มให้มีระยะห่างพอดี เป็นการสานชั้นแรก และการสานในชั้นที่สองนำไม้ไผ่เส้นยาวมาสานทับรอบเส้นไม้ไผ่ที่ทำไว้ในชั้นแรกกะระยะห่างพอดี
โดยสานทึบจนเต็มเหมือนกันจนรอบตัวตะกร้า และในชั้นบนที่เป็นขอบปากของตะกร้าต้องสานขอบใหญ่
กว่าเดิมเพื่อที่จะเก็บเส้นไม้ไผ่ทั้งหมดที่ใช้สานตะกร้าขึ้นมาโดยการสานให้หนาและทึบเป็นขอบปากตะกร้า
เพื่อให้ตะกร้าแข็งแรงเมื่อใช้บรรจุเมี่ยง ตะกร้าใส่เมี่ยง ๑ ใบ จะบรรจุเมี่ยงได้ จำนวน ๑๐๐ กำ ราคาใบละ
๘ บาท
งานจักสาน มีความหลากหลายต่างกันไป เช่น รูปแบบ หรือรูปทรง และลวดลายที่ต่าง
กัน บางชนิด การนำเอาไปใช้เพื่อทำประโยชน์ หรือใช้สอยอย่างเดียวกัน อาจมีความแตกต่างเกิดขึ้นได้
เพราะมีเหตุ และปัจจัยของแหล่งผลิต หรือต่างพื้นที่ และผู้ผลิต หรือทำต่างสถานที่กัน ทำให้งานจักสาน
ในท้องถิ่นต่าง ๆจะมีเอกลักษณ์ของเฉพาะถิ่นนั้น ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านที่สั่งสม และสืบทอดมา
จากอดีตถึงปัจจุบันที่ควรอนุรักษ์ไว้เป็นแบบอย่างที่ดีให้คนในรุ่นต่อไป

ผู้ให้ข้อมูล การทอเมี่ยง (สานซ้าใส่เมี่ยง หรือตะกร้าใส่เมี่ยง)
นายทองสุก ต้อนรับ อายุ ๗๙ ปี
นางบัวตอง ต้อนรับ อายุ ๗๘ ปี
บ้านเลขที่ ๑๓๗ หมู่ ๒ บ้านดอนแก้ว ตำบลเมืองปาน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง
ผู้สัมภาษณ์ นางน้ำทิพย์ มณฑาทอง นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ ปฏิบัติงานที่อำเภอเมืองปาน
จังหวัดลำปาง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น