วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2552

จุลกฐิน

กฐิน หมายถึง ไม้สะดึง คือ กรอบไม้ชนิดหนึ่งใช้สำหรับขึงผ้าให้ตึง สะดวกแก่การเย็บในสมัยโบราณไม่มีจักรเย็บผ้าทันสมัยเหมือนปัจจุบัน การเย็บผ้าต้องใช้ไม่สะดึงมาขึงให้ตึงแล้วจึงเย็บไม่เหมือนการใช้จักรเย็บผ้าในสมัยนี้ ดังนั้นการทำจีวรในสมัยโบราณจะต้องทำเป็นผ้ากฐิน
อานิสงส์หรือประโยชน์สำหรับผู้ทอดกฐิน การทอดกฐินเป็นการทำบุญวัดหนึ่งสามารถทอดกฐินได้ปีละครั้ง ภายในกำหนดเวลาและผู้ทอดก็ต้องตระเตรียมจัดเป็นงานใหญ่มีผู้ช่วยเหลือหลายคนจึงนิยมกันว่าเป็นพิธีบุญที่อานิสงส์แรง พิธีเช่นนี้ได้ทั้งโภคสมบัติที่ตัวผู้ทำเอง และได้บริวารสมบัติเพราะได้บอกบุญแก่ญาติมิตรให้มาร่วมกุสลด้วยเป็นบุญภวายผ้าไตรจึวรแด่พระสงฆ์ซึ่งจำพรรษาแล้ว เริ่มตั้งแต่
แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงวันเพ็ญ ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๒ เป็นเขตทอดกฐินตามหลักพระวินัย
ความหมาย “จุลกฐิน” หมายถึง กฐินที่ทำให้เสร็จในวันเดียว เริ่มตั้งแต่ปั่นฝ้าย ทอ เย็บ ย้อม และถวาย อาจเรียกว่า กฐินแล่นก็ได้หากมีการทำจุลกฐินจะมีอานิสงส์มากเพราะจะต้องอาศัยความเคร่งครัด
ทุกฝ่ายต้องกันทำให้เสร็จภายในกำหนดวันหนึ่งโดยมีวิธีการคือ ต้องเก็บฝ้ายมาปั่นเป็นด้ายแล้วทอให้เสร็จเป็นผืน และตัด เย็บ ย้อมจนทำเป็นจีวรในวันเดียว แล้วนำไปทอดในวันเดียวกัน ด้วยเหตุนี้เองจึงเรียนว่า “จุลกฐิน”
ขั้นตอนหรือกระบวนการของจุลกฐิน สำหรับจุลกฐิน ถือว่าเป็นกฐินชนิดหนึ่ง อาศัยความร่วมมือของคนหมู่มากเร่งรีบทำให้เสร็จ เจ้าภาพผู้ที่จะคิดทำจุลกบินเพื่อทอดถวาย ณ วัดใดวัดหนึ่งจะต้องมีบารมีมีพวกพ้องคอยช่วยเหลือ หลังจากนั้นผู้ทอดต้องช่วยทำต่อ คือ นำผ้านั่นมาขยำ ทุบ ซัก แล้วไปตากให้แห้ง นำมาตัดเป็นจีวรผืนใดผืนหนึ่ง แล้วเย็บย้อม ตากแห้ง ทับ รีด เสร็จเรียบร้อยนำไปถวายพระภิกษุ
แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันผู้ทอดกฐินอาจไม่มีกำลังมากพอ อาจจะตัดกระบวนการในตอนต้น ๆออกก็ได้ โดยเริ่มตั้งแต่การนำเอาผ้าขาวผืนใหญ่มากะประมาณให้พอหที่จะตัดเป็นจีวรผ้านผืนใดผืนหนึ่งแล้วนำไปทอด เมื่อพระภิกษุสงฆ์ท่านนำไปดำเนินการตามพระวินัยแล้วก็ช่วยทำต่อจากท่าน คือ ซัก รีด ออกแบบตัดเย็บ ย้อมให้เสร็จ แล้วนำกลับไปถวายพระภิกษุองค์ครองเพื่อพินทุ อธิษฐานต่อไปเหมือนวิธีทำที่กล่าวมาแล้วในการทำจุลกฐินเต็มรูปแบบส่วนบริวารของจุลกฐิน เช่น ผ้าห่มพระประธาน และเทียนปาติโมกข์ ตลอดจนธงจระเข้ ตะบาล ก็อาจจะมีประกอบเช่นเดียวกับกฐินธรรมดาหรือมหากฐินก็ได้.
----------------------------------------------

นางสุภาภรณ์ เรือนหล้า
นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ ปฏิบัติราชการประจำสำนักงานวัฒนธรรมอำเภอเถิน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น