วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

อร่อยๆกับอาหารล้านนา ๘



สวัสดีครับ พบกันเดือยสิงหาคม เป็นเดือนที่สำคัญเดือนหนึ่ง ซึ่งเป็นเดือนที่มีวันแม่แห่งชาติ วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เราเหล่าลูกหรือบางท่านเป็นเหล่าแม่ มาทำอาหารทานในครอบครัวสร้างความอบอุ่นสร้างความรักในครอบครัวกัน นะครับ อ่านซึ่งเป็นภูมิปัญญาของชาวเหนือเราที่จะแนะนำในวันนี้ คือ น้ำพริกจี้กุ่ง หรือน้ำพริกจิกุ่ง ซึ้งเป็นน้ำพริกที่มีลักษณะค่อนข้างแห้งถึง พริกที่นิยมใช้คือ พริกหนุ่ม จะใช้จิกุ่งต้มหรือย่างไฟก็ได้ (สุมาลี ทะบุญ, สัมภาษณ์, 27 มิถุนายน 2550)
พอพูดถึงน้ำพริกจิกุ่งก็ต้องมาทำความรู้จักเจ้าจิกุ่ง กันก่อนจะนำมาทำน้ำพริก ผมรู้จักครั้งแรกจำได้ว่าสมัยเด็ก ในสวนผักข้างบ้านของคุณตาและคุณยายของผมที่จังหวัดแพร่ ผมได้ยินเสียงร้องของแมลงชนิดหนึ่งคล้ายๆของจิ้งหรีด ผมถ้าตาว่าเสียงจิ้งหรีดหรือเปล่าตาบอกว่าไม่ใช่ มันคือจิกุ่ง พรุ่งนี้จะพาไปขุดกัน วันรุ่งขึ้นคุณตานำจอบ มาให้แล้วเดินไปที่สวน แล้วมองหาอะไรสักอย่างบนพื้น ผมสงสัยหาอะไรอยู่พอดีมองเห็นขี้ดินกองอยู่บนปากรู้รู้ใหญ่ประมาณนิ้วหัวแม่มือ คุณตาเริ่มขุดขุดได้สักพักก็เจอจิ้งหรีดขนาดใหญ่ กระโดดขึ้นมา พอจับได้ผมบอกจิ้งหรีดยักษ์ แต่คุณตาบอกว่านี้ละจิกุ่ง มันตัวใหญ่มาก นี้เป็นครั้งแรกที่ผมรู้จักกับจิกุ่ง
ชื่อเป็นทางการที่เรียกกัน จิกุ่งหรือจิ้งโกร่ง เป็นแมลงวงค์เดียวกันกับจิ้งหรีด ( Family Gryllidae) อยู่ในอันดับอาร์ทอพเตรา (Order Orthoptera) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Brachytrupes portentosus Licht. บางแห่งเรียกจิ้งโกร่งว่า จิ้งหรีดโกร่ง จิ้งหรีดโป่ง ทั้งนี้เนื่องจากว่าเป็น จิ้งหรีดขนาดใหญ่กว่าจิ้งหรีดทั่วไป คือมีลำตัวยาว ๔.๕ ซม. กว้าง ๑ ซม. จิกุ่งมีสีน้ำตาลตลอด เป็นแมลงกินพืชและผักต่างๆ อาศัยอยู่ในดิน โดยขุดรูอยู่ ออกหากินในเวลากลางคืน (โครงการพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
สื่อปฏิสัมพันธ์วัฒนธรรมของชาติ)
หลังจากรู้จักเจ้าจิกุ่งกันแล้ว มารู้จักวิธีทำ น้ำพริกจิกุ่ง

ส่วนผสม
1. จี้กุ่งต้ม 7 ตัว
2. พริกหนุ่มย่างไฟ 7 เม็ด
3. กระเทียมย่างไฟ 10 กลีบ
4. หอมแดงย่างไฟ 5 หัว
5. เกลือ 1/2 ช้อนชา
วิธีทำ
1. ย่างพริกหนุ่ม หอมแดง และกระเทียมให้สุก แกะเปลือกออก พักไว้
2. โขลกเกลือ หอมแดง กระเทียม และพริกหนุ่ม รวมกันให้ละเอียด
3. ใส่จี้กุ่งต้ม โขลกคนให้เข้ากัน

เคล็ดไม่ลับ
ก่อนต้มต้องนำจิกุ่ง ไปเอาใส่และขี้ออกก่อน
ประโชนย์ทางอาหาร
จิกุ่ง มีโปรตีนสูงถึง 12 % สามารถน้ำมาปรุงอาหารได้หลายอย่าง เช่น น้ำพริกนรก หรือนำไป ทอดในตลาดตกตัวละ 1.50 – 2.00 บาท จับหาจิกุ่ง คือ ช่วงเดือนสิงหาคม ถึง พฤศจิกายน

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

อร่อยๆกับอาหารล้านนา ๗

สวัสดีครับ พบกันนี้สำหรับการแนะนำอาหารของภาคเหนือของเดือนกรกฎาคม เดือนก็เป็นเดือนที่มีวันสำคัญทางศาสนา ๒ วัน คือ วันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา ชาวบ้านก็จะมีการทำอาหารนำไปวัดกันผมจำได้เมืองยังเด็กจะมีการทำอาหารรสแปลกมีกลิ่นเครื่องเทศ มีสีสันเหมือนมัสมั่น มีถั่วเหมือนกันทานตอนแรกทำไม่ออกเผ็ดๆร้อนๆมีขิงด้วย แต่ว่าอร่อยมากจำได้เลยว่าทานข้าวไปหลายจาน ถามน้าๆว่าแกงอะไรคำตอบที่ได้ เป็น “แกงฮังเล”ผมบอกว่าอร่อยถ้าให้พูดแบบเหนือ ลำแต้ๆ ตั้งแต่นั้นผมก็ชอบให้น้าทำให้ทานเมื่อได้มาบ้านตาทุกครั้ง ที่นี้มารู้ความหมายและความเป็นมาพร้อมกับวิธีทำ เจ้าแกงฮังเล กันนครับ โดยผมได้รวบรวมจากแหล่งข้อมูลต่างๆ มาครับ

แกงฮังเล มี ๒ ชนิด คือ แกงฮังเลม่าน และ แกงฮังเลเชียงแสน เชื่อกันว่าเป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลมาจากพม่า สำหรับแกงฮังเลเชียงแสนจะแตกต่างตรงที่มีถั่วฝักยาว มะเขือยาว พริกสด หน่อไม้ดอง งาขาวคั่ว เพิ่มเข้ามา (รัตนา พรหมพิชัย,๒๕๔๒,หน้า๔๙๐) และใช้เป็นส่วนผสมของแกงโฮะ (เทียนชัย สุทธนิล, สัมภาษณ์, ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๐)

แกงฮังเล เป็นอาหารหลัก บางตำราจะใส่กระท้อนลงในแกง โดยหั่นเป็นชิ้นหนา หรือหั่นสี่เหลี่ยมขนาด ๑ นิ้ว หรือบางตำราจะใส่สันปะรดหั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยม ๑ นิ้ว แกงฮังเลเป็นแกงของพม่า แพร่หลายเข้ามาทางภาคเหนือ พม่าเจ้าของตำรับจะรับประทานแกงฮังเลกับกล้วยไข่

ส่วนผสมแกงฮังเล
. เนื้อสันคอหมู ๓๐๐ กรัม
. เนื้อหมูสามชั้น ๒๐๐ กรัม
. น้ำอ้อยป่น ช้อนโต๊ะ
. น้ำมะขามเปียก ช้อนโต๊ะ
. ขิงซอย / ถ้วย
. กระเทียม / ถ้วย
. ถั่วลิสงคั่ว ช้อนโต๊ะ
. สับปะรด ช้อนโต๊ะ
. ผงฮังเล ช้อนโต๊ะ

เครื่องแกงแกงฮังเล
. พริกแห้ง เม็ด
. พริกขี้หนูแห้ง เม็ด
. หอมแดง หัว
. กระเทียม ๒๐ กลีบ
. ตะไคร้ซอย ช้อนโต๊ะ
. ข่าซอย ช้อนโต๊ะ
. เกลือ ช้อนชา
. กะปิหยาบ / ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

.โขลกเครื่องแกงทั้งหมดรวมกันให้ละเอียด
. หั่นหมูทังสองอย่างเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมขนาดพอคำ เคล้าด้วยซีอิ้วดำแล้วนำเครื่องแกงใส่กับหมู เคล้าเข้าด้วยกัน หมักไว้ประมาณ ๑ ชั่วโมง
. ใส่หมูลงในหม้อ ใช้ไฟอ่อนๆ ผัดพอหมูตึงตัวใส่น้ำลงในหม้อ ปิดฝาตั้งเคี่ยวไปเรื่อยๆ
. ใส่กระเทียมที่ปอกเปลือกเป็นกลีบ ใส่ผงแกงฮังเลหรือผงกะหรี่ ตั้งเคี่ยวจนหมูนุ่ม และน้ำงวดข้นคล้ายแกงมัสมั่น
. ใส่ขิง ทุบให้พอสุก ปรุงรสด้วยน้ำมะขามเปียก ชิมรสให้ได้ ๓ รส เปรี้ยว เค็ม เผ็ด ถ้าอ่อนเค็มให้เติมเกลือ

ไม่ลับเคล็ดลับในการปรุง
- การคั่วเครื่องแกง ใช้ไฟปานกลาง ใช้เนื้อกระท้อนแทนมะขามเปียกได้ ให้รสชาติเปรี้ยว และมีกลิ่นหอม
- หมูสามชั้น ควรเลือกที่มันไม่หนาเกินไป หรือเลือกใช้ซี่โครงหมูแทน ก็ได้

ประโชนย์ทางอาหาร
จะเห็นว่าแกงฮังเลนี้จะเป็นอาหารที่ค่อนข้างมีไขมัน แต่ในขณะเดียวกันก็จะใช้สับปะรดช่วยลดความรู้สึกเลี่ยนมันของหมูสามชั้น และช่วยเพิ่มเส้นใยอาหาร อีกทั้งยังมีขิงช่วยเติมรสชาติ การรับประทานแกงฮังเลจะได้ทั้งพลังงานจากเนื้อหมู มันหมู ช่วยให้ความอบอุ่นเหมาะกับสภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็น นอกจากนั้นยังจะได้แคลเซียม ฟอสฟอรัส แบต้า-แคโรทีน วิตามินบีสอง จากขิงอีกด้วยแกงฮังเล ๑ ชุด ให้พลังงานต่อร่างกาย ๓๗๔๐ กิโลแคลอรี

ชิตพร พูลประสิทธิ์ นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

อร่อยๆกับอาหารล้านนา ๖

มาถึงเดือนมิถุนายนเข้าฝนเต็มตัวมีฝนตกทุกเย็นนาข้าวน้ำนองชาวนาเริ่มหว่านข้าวทำกล้าช่วงนี้ทำให้นึกถึงสมัยเด็ก ผมเคยตามตาไปนาที่เริ่มปลักกล้ากัน พวกเด็กที่ว่างๆไม่ช่วยงานอย่างผมและพี่ๆน้องก็มีหน้าที่อีกอย่างคือจับปูนากัน ตอนแรกผมก็คิดว่าเอาปูนามาทำอะไรแยะๆ เอามาทำปูเค็มตำส้มตำหรือเปล่า แต่พากลับมาบ้านพวกเราก็นำปูมาขังไว้ไม่เป็นทำอะไรตั้ง ๒-๓ วัน ผมสงสัยก็เลยถามตาว่าขังเอาไว้ทำไม ตาบอกว่าขังไว้ให้มันคายดินโคลนออกจะได้สะอาด ผมก็ถามต่อว่าแล้วจะเอาปูไปทำอะไร ตาบอกว่าเอาไปทำน้ำปู๋ ผมก็นึกถึงกระปุกฝาแดงที่ของสีดำๆอยู่ข้างในคล้ายๆกะปิ เห็นยายชอบใส่ในส้มตำ แล้วส้มตำทำให้ส้มตำทางเหนือออกดำๆ

ผมว่าเรามารู้จักน้ำปู๋และวิธีทำน้ำปู๋กัน โดยมีผู้ให้ความหมายว่า น้ำปู อ่านว่า น้ำปู๋ เป็นอาหารดั้งเดิมของชาวล้านนา ใช้เป็นเครื่องปรุงรสอาหารบางอย่าง เช่นเดียวกับกะปิ โดยมากจะทำน้ำปูในช่วงฤดูฝน หรือฤดูทำนา ชาวล้านนา นิยมนำน้ำปูมาตำน้ำพริก เรียกว่า น้ำพริกน้ำปู ใช้เป็นเครื่องปรุงอาหาร เช่น ยำหน่อไม้ แกงหน่อไม้ ตำส้มโอ ตำกระท้อน (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 3247)

ส่วนผสม

๑. ปูนา๓-๔กิโลกรัม
๒. ใบฝรั่ง ใบตะไคร้ หรือใบข่า๑/๒ถ้วย
๓. เกลือเมล็ด ๑ ๑/๒ ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

๑.นำปูมาทำความสะอาด แล้วตำในครกที่เรียกว่าครกมอง หรือครกกระเดื่อง
๒.ใส่ใบฝรั่ง ใบตะไคร้ หรือใบข่าตำผสมให้ละเอียด
๓.นำมากรองด้วยผ้าขาวลงในหม้อดิน
๔.หลังจากที่กรองเสร็จนำกากปูที่ได้มาตำซ้ำอีก 2 ถึง 3 ครั้ง แล้วกรองลงในหม้อดินอีก
๕.หลังจากนั้นจะได้น้ำปูดิบ นำไปตั้งไฟเคี่ยวจนน้ำปูเกือบแห้ง แล้วก็จะเติมเกลือ
๖.ทิ้งไว้จนเย็นน้ำปูแห้งจะจับกันเป็นก้อนสีดำ ชาวบ้านจะนำมาใส่ ออม หรือกระปุก

เท่านี้ก็จะได้น้ำปู๋ที่ต้องการเพื่อเป็นการถนอมอาหารเพื่อเก็บไว้กินเป็นเวลาเเรมปี โดยในน้ำปู๋นั้นให้พลังงาน โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต ใยอาหาร

เคล็ดไม่ลับ
- การเคี่ยวนั้นจะใช้ไฟเเรงก่อนเเละค่อยๆ ลดไฟลง คนทำต้องหมั่นคนอยู่เสมอมิฉะนั้นจะทำให้น้ำปูล้นหม้
- ต้องใช้ปูเป็น ในการทำน้ำปู

- บางสูตรใช้ใบขมิ้นซอย

อ้างอิง

นางนิตยา บุญทิม นักวิจัย ชำนาญการ ระดับ 8 หน่วยวิจัยจุลชีววิทยาประยุกต์ สถาบันวิจัยเเละพัฒนาวิทยาศาสตร์ เเละเทคโนโลยี

รัตนา พรหมพิชัย. น้ำปู. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ (เล่ม 6, หน้า 3247). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

ชิตพร พูลประสิทธิ์ นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ

วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

อร่อยๆกับอาหารล้านนา ๕


เข้าหน้าฝนแล้วฝนเริ่มตกสิ่งที่มากับสายฝนคือชีวิตต่างๆที่เริ่มขึ้นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่มากับที่มากับฝนตกจนน้ำเริ่มท่วมขังเป็นครึ่งบกครึ่งน้ำที่มีเสียงดังมากจนทำให้ชาวบนต้องออกมาไล่จับก็คือ กบ เขียด หรือปาด มันออกมาหลังฝนตกส่งเสียร้องหาคู่ เมื่อจับคู่ผสมพันธุ์เรียบร้อย ก็วางไข่ไว้ตามแหล่งน้ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งตามท้องนาที่ชาวบ้านมีการเริ่มไถ่นาเตรียมนาขังนำไว้หรือแม่แต่เริ่มปักดำนากัน หลังจากนั้นไข่จำนวนมากก็เริ่มเป็นลูกอ๊อดหรือทางเหนือเรียกอีชื่อว่าลูกอ๊อดหรือทางเหนือเรียกว่า อี่ฮวก ถ้าเป็นลูก อ๊อดกบ เรียก อี่ฮวกกบ ถ้าเป็นลูกอ๊อดเขียด เรียก อี่ฮวกเขียด เป็นที่นิยมของชาวเหนือในการนำมารับประทานเป็นอาหารกัน โดยอี่ฮวกกบชอบมากกว่าอี่ฮวกเขียด นำมาปรุงเป็น แอ็บ และน้ำพริก เป็นส่วนผสมในแกงหน่อไม้ดอง แอ็บอี่ฮวก มีวิธีการปรุงเช่นเดียวกับแอ็บอ่องออ แอ็บกุ้ง แอ็บหมู ทำให้สุกโดยปิ้งหรือย่าง ด้วยไฟอ่อนๆ จนข้างในสุก เรามาดูส่วนผสมและวิธีการทำกันครับ

ส่วนผสม

.ลูกอ๊อด ๒๐๐ กรัม
.ใบขิง ๑/๒ ถ้วย

เครื่องปรุง

.พริกขี้หนู ๒๐ เม็ด
.หอมแดง ๑๐
หัว
.กระเทียม ๒๐ กลีบ
.ตะไคร้ซอย ช้อนโต๊ะ
.ข่าหั่น ช้อนโต๊ะ
.ขมิ้นหั่น ช้อนโต๊ะ
.กะปิ ๑/๒
ช้อนโต๊ะ
.เกลือ ๑/๒ ช้อนชา

วิธีทำ

๑. โขลกเครื่องแกงรวมกันให้ละเอียด
. ล้างลูกอ๊อดให้สะอาด ใส่ภาชนะ ใส่เครื่องแกงลงคลุกเคล้าให้เข้ากัน
. ใส่ใบขิงซอย คลุกเคล้าให้เข้ากัน
. เตรียมใบตอง กว้าง 8 นิ้ว วางซ้อนกันสองชั้นสลับหัวท้าย ตักส่วนผสมใส่ลงตรงกลางใบตอง
. ห่อเป็นรูปสี่เหลี่ยม ใช้ไม้กลัด กลัดใบตองให้ติดกัน
. นำไปย่างไฟอ่อนๆ
. ย่างจนกระทั่งใบตองเหลืองเกรียม คอยกลับด้าน ใช้เวลาประมาณ ๓๐-๔๕ นาที

เคล็ดไม่ลับ

การเอาของเสียออกจากท้องลูกอ๊อด ให้ใช้ขี้เถ้าโดยการเอามือแตะขี้เถ้าก่อนเพื่อบีบของเสียออกได้ง่าย

อ้างอิงจาก

รัตนา พรหมพิชัย. (๒๕๔๒). แอ็บ. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ (เล่ม ๑๕, หน้า ๘๑๑๑-๘๑๑๒).กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

วันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2554

อร่อยๆกับอาหารล้านนา ๔


สวัสดีครับครั้งที่แล้วผมได้กล่าวถึง คั่วจิ๊นส้ม หรือคั่วแหนม หรือผัดแหนม แต่ยังไม่พูดถึงวิธีทำจิ้นส้มแต่ก่อนจะมาดูวิธีทำจิ้นส้ม ความเป็นมาของจิ้นส้ม ก่อนนะครับ

จิ๊นส้มรือ แหนม ทำมาจากเนื้อสัตว์ครับ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อควาย เรียกชื่อตามเนื้อสัตว์ เช่น จิ๊นส้มหมู จิ๊นส้มงัว จิ๊นส้มก้าง ปัจุจุบัน นิยมใช้เนื้อหมู บางแห่งเรียก หมูส้ม สามารถนำมารับประทานเป็นกับข้าว หรือนำไปปรุงอาหารได้หลายชนิด เช่น คั่วจิ๊นส้มใส่ไข่ เจียวผักปลัง และคั่วฟักเพกาอ่อน (อุดม รุ่งเรืองศรี, 2542, หน้า 1879; เสาวภา ทาแก้ว, สัมภาษณ์, 2 กรกฎาคม 2550)

ส่วนผสม

๑.เนื้อหมูบด กิโลกรัม

๒.หนังหมู ๑๐๐ กรัม

๓.กระเทียม ๒๐ กรัม

๔.เกลือ ช้อนโต๊ะ

๕.ข้าวนึ่งหรือเรียกอีกอย่างว่าข้าวเหนียว ถ้วย

วิธีทำ

. โขลกกระเทียมและเกลือป่น และนำคลุกเคล้ากับหมูบด
. ใส่ข้าวนึ่ง คลุกเคล้าให้เข้ากัน

. ใส่หนังหมูลงคลุกเคล้าให้เข้ากัน

. เตรียมใบตอง ๘ x ๑๐ นิ้ว ซ้อนกัน ๔ แผ่น นำส่วนผสมใส่ใบตอง

. ห่อใบตองให้แน่น แล้วห่อใบตองอีกหนึ่งชั้น

. ใช้ไม้กลัด กลัดใบตอง ทิ้งไว้ ๒-๓ วัน จึงนำมารับประทานหรือนำมาปรุงอาหารได้

เคล็ดไม่ลับ

- เลือกเนื้อสันคอมาทำจิ๊นส้ม เพราะเนื้อนุ่มกว่าส่วนอื่นๆ

- ก่อนนำไปรับประทานถ้าจะให้จิ้นส้มมีความหอมอร่อยและปลอดภัยขึ้นขอแนะนำให้นำไปย่าง ไฟอ่อนให้สุขทั่วก่อนนะครับ หรือทางเหนือเรียกว่า จิ้นส้มหมก

อ้างอิงจาก

อุดม รุ่งเรืองศรี. (2542). ชิ้นส้ม. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ (เล่ม 4, หน้า 187)

กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

ชิตพร พูลประสิทธิ์ นักจัดการงานทั่วไปชำนาณการ

วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2554

อ่รอยๆกับอาหารล้านนา ๓

อากาศร้อนแบบนี้คิดถึงอาหารที่สุกด้วยการหมักหรือใช้ความร้อนที่เกิดขึ้นในการทำให้สุกก็จะเป็นอะไรไม่ได้นอกจากแหนมชนิดต่างๆ ซึ้งจะใช้การหมักจากเชื้อจุลินทรีย์กลุ่มแล็กโตบาซิลลัส ทำให้แหนมมีรสชาติเปรี้ยวเป็นภูมิปัญญาในการถนอมอาหาร ทางเหนือเรียกแหนมว่า ชิ้นส้ม อาจทำมาจากเนื้อสัตว์ต่าง ๆ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อควาย เป็นต้น ซึ่งจะเรียกตามเนื้อสัตว์ที่นำมาทำเช่น ชิ้นส้มหมู ชิ้นส้มงัว ชิ้นส้มค่าง ( อ่าน ‘' จิ้นส้มก้าง ‘') ชิ้นส้ม เป็นอาหารดิบ จึงอาจมีพยาธิและแบคทีเรีย ดังนั้นควรปรุงให้สุกก่อนบริโภค
อาหารทางเหนือที่ใช้ชิ้นส้มเป็นส่วนประกอบก็ คือ คั่วจิ๊นส้ม หรืคั่วแหนม หรือผัดแหนม นิยมผัดใส่ไข่ไก่ และวุ้นเส้น ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุ มักนิยมผัดใส่บ่าลิดไม้ หรือผัดแหนมใส่ฝักเพกาอ่อนย่างไฟ ซึ่งนำลอกเปลือกออก และหั่นย่อย

ส่วนผสม

.จิ๊นส้ม ๑๐๐ กรัม
.วุ้นเส้น / ถ้วย
.ไข่ไก่ ฟอง
.หอมหัวใหญ่ หัว
.ต้นหอม ต้น
.พริกชี้ฟ้าแดง เม็ด
.กระเทียมดอง หัว
.กระเทียมสับ ช้อนโต๊ะ
.น้ำมันพืช ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ
. เจียวกระเทียมกับน้ำมัน จนมีกลิ่นหอม ใส่แหนม ลงผัด
. ใส่หอมหัวใหญ่ ผัดให้เข้ากัน
. ใส่วุ้นเส้น ผัดจนวุ้นเส้นสุก
. ใส่ไข่ไก่ ผัดให้เข้ากัน
. ใส่พริกชี้ฟ้า ต้นหอม มะเขือเทศ และกระเทียมดอง ผัดให้เข้ากัน พอสุก ปิดไฟ

อ้างอิงจาก
รัตนา พรหมพิชัย. (๒๕๔๒). แอ็บ. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ (เล่ม ๑๕, หน้า ๘๑๑๑-๘๑๑๒).กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

ชิตพร พูลประสิทธิ์ นักจัดงานงานทั่วไปชำนาญการ

วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

อร่อยๆกับอาหารล้านนา ๒ ข้าวกั้นจิ้น

wwwwwwwสวัสดีครับพบกันอีกครั้งในหลังจากนำเสนอขนมเส้นน้ำเงี้ยวไปแล้ว ของอีกอยากที่จะแนะนำเป็นสิ่งที่ทานกับขนมเส้นน้ำเงี้ยวซึ่งจะขาดไม่ได้เด็ดขาด นั้นคือ ข้าวกั้นจิ้น สมัยเด็กผมจำได้ว่า ครั้งแรกที่เห็นผมคิดในใจว่าข้าวอะไรนะดำๆ คิดว่าเป็นข้าวเหนียวดำ แต่พอทานคำแรกไม่ใช่แต่รสชาติอร่อยดีเค็มๆมันๆ พอถามน้าๆเขาบอกว่า สิ่งนี้เรียกว่า ข้าวเงี้ยว ท่านบางคนอาจจะเคยทานกันบางนะครับ มาทำความรู้จักอาหารนี้กัน
wwwwwwwข้าวกั้นจิ้น เป็นอาหารเหนือ คำว่า กั๊น เป็นคำเมืองแปลว่า นวด บีบหรือคั้น ส่วนคำว่า จิ้น ก็คือเนื้อหมูแต่ สำหรับบางคนมักเรียกว่า" ข้าวเงี้ยว " หรือ “ข้าวส้มเงี้ยว” อันเป็นคำที่คนไทยในอดีตใช้เรียกชาวไทยใหญ่ว่า "เงี้ยว" ข้าวกั้นจิ้นนิยมบริโภคแพร่หลายในภาคเหนือ ถือเป็นหนึ่งในอาหารอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวไทยใหญ่และเป็นอาหารล้านนาข้าวกั้นจิ้น มีวิธีทำที่ไม่ยาก
ส่วนประกอบ

วิธีทำ
๑. คั้นเลือดกับใบตะไคร้ เพื่อดับคาวเลือด พักไว้
๒. หุงข้าว สุกแล้วตักข้าวผึ่งไว้พออุ่น ใส่เกลือ น้ำตาลทราย และน้ำมันกระเทียมเจียว
๓. ใส่หมูสับ ตามด้วยเลือดหมู
๔. คลุกเคล้าส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน
๕. เตรียมใบตองฉีกกว้างขนาด 10 นิ้ว วางซ้อนกัน 4 ชั้น ใส่ส่วนผสมลงตรงกลางห่อ
๖. จับปลายใบตองชิดกัน ม้วนพับใบตองลงให้แน่น พับหัวพับท้าย
๗. มัดด้วยตอกให้แน่น (ตอก คือไม้ไผ่ที่จักบางๆ เพื่อใช้ใช้ในการสานเครื่องใช้หรือผูกสิ่งของต่างๆ)
๘. นึ่งในลังถึง ประมาณ 30 นาที

หมายเหตุ
- บางแห่งไม่มีการใส่เลือดแต่ใช้เฉพาะหมูบด ข้าวจะออกมาสีขาว
-ข้าวกันจี้นนี้จะมีเครื่องเคียง คือพริกขี้หนูแห้งทอด หอมหัวใหญ่ กระเทียมเจียว หรือแตงกวา

อ้างจาก
http://library.cmu.ac.th
http://www.lannashoppingmall.com

สวัสดีครับ
เขียนโดย นายชิตพร พูลประสิทธิ์ นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง