วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ปัญหาการขายบริการทางเพศของวัยรุ่น

โดย นางสาวหัทยา ตันป่าเหียง นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ
ปัญหาที่ล่อใจให้เกิดการขายบริการทางเพศ
๑. ปัญหาทางเศรษฐกิจ ความยากจน
๒. ปัญหาวัตถุนิยม บริโภคนิยม อยากมีอยากได้ อยากใช้ของแพง พฤติกรรมเลียนแบบ มีค่านิยมที่ผิดว่าเป็นสิ่งที่ไม่น่า
จะเสียหายอะไร อยากมี ความอยากได้มากกว่าจะมองว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง หรือเหมาะสม
๓. ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ผิดหวังในความรัก ถูกทอดทิ้ง ไม่เห็นคุณค่าของตัวเอง
แนวทางแก้ไขปัญหา
ทุกภาคส่วนต้องหันหน้ามาร่วมกัน
๑. ครอบครัวต้องเข้มแข็ง ให้ความรัก เอาใจใส่ อบรมสั่งสอนให้ประพฤติตนให้เหมาะสม
๒. วัด บ่มเพาะ โดยนำหลักธรรมคำสอนตามหลักพระพุทธศาสนามากล่อมเกลาและให้นำหลักธรรมคำสั่งสอน ไปประพฤติ
ปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
๓. โรงเรียน อบรมให้ความรู้ บ่มเพาะ ขัดเกลาให้เป็นคนดี มีภูมิคุ้มในตนเอง
๔. หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนงบประมาณในการอบรมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็ก เยาวชน สนับสนุนงบในการสร้าง
พื้นที่ดีให้กับเด็ก สำหรับหน่วยงานที่มีอำนาจบังคับใช้กฎหมายให้บังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง เช่น กระทรวง I C T กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานตรวจแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และที่ผ่านมาสำนักงาน-วัฒนธรรมจังหวัดลำปางและจังหวัดลำปาง ได้จัดโครงการอบรม เด็ก และเยาวชน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็ก เช่น โครงการอบรมเยาชนภาคฤดูร้อน โครงการค่ายคุณธรรม จริยธรรม นักเรียน โครงการธรรมทัศนาจร นอกจากนี้ได้ร่วมกับ
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดจังหวัด แนะแนว นักเรียน นักศึกษา ในสถานศึกษาในจังหวัดลำปาง แนะแนว ในเรื่องการจัดระเบียบสังคม เรื่องพฤติกรรมทางเพศที่ไม่พึงประสงค์ ของกลุ่มวัยรุ่น การใช้ความรุนแรงในกลุ่มวัยรุ่น ยาเสพติด ความเบี่ยงเบนทางวัฒนธรรม ในเรื่องของวัตถุนิยม บริโภคนิยม การแต่งกายที่ไม่พึง-ประสงค์ การใช้สื่อเทคโนโลยี การใช้อินเตอร์เน็ตการถ่ายคลิบวีดีโอ การแชทคุยกับคนแปลกหน้าเสี่ยงต่อการถูกล่อลวงในการละเมิดทางเพศ การสัก การเจาะอวัยวะ และการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร นอกจากนี้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปางได้ดำเนินการสร้างเครือข่ายในการเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม และพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเด็กและเยาวชนจากปัญหาความเบี่ยงเบนทางวัฒนธรรม โดยจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังทางวัฒนธรรมจังหวัด จำนวน ๑ แห่ง ศูนย์เฝ้าระวังทางวัฒนธรรมอำเภอ ๑๓ อำเภอ และศูนย์เฝ้าระวังทางวัฒนธรรมในสถานศึกษา จำนวน ๑๒๙ แห่ง โดยศูนย์เฝ้าระวังทาง
วัฒนธรรมมีหน้าที่รายงานสถานการณ์ความเบี่ยงเบนทางวัฒนธรรม และพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเด็กและเยาวชนในพื้นที่รายงานศูนย์เฝ้าระวังทางวัฒนธรรมจังหวัด เพื่อเสนอรายงานต่อคณะกรรมการศูนย์เฝ้าระวังทางวัฒนธรรมจังหวัด วิเคราะห์สถานการณ์ หาแนวทางป้องกัน แก้ไขปัญหาและแจ้งเตือนภัยให้กับสังคม
ยุทธศาสตร์ แนวทางการแก้ปัญหา เด็กและเยาวชน
“ขจัดร้าย ขยายดี มีภูมิคุ้มกัน”
การสร้างเสริมปัจจัยคุณภาพสำหรับเด็ก
“ครอบครัวคุณภาพ”
“สื่อคุณภาพ”
“พื้นที่คุณภาพ”
“การศึกษาคุณภาพ”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น