วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2553

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับหลักความรัก

ความรัก จึงต้องออกสู่ภาคปฏิบัติ คือ การให้และการแบ่งปัน เมื่อสังคมมการแบ่งปันจะทำให้สังคมนั้นเป็นสังคมแห่งทางสายกลาง มีของเป็นกองกลาง มีการประพฤติปฏิบัติที่เป็นกลาง กล่าวคือสังคมนั้นจะไม่เป็น
ความรัก เข้าปะปนกับสังคมแบบสุดโต่ง ในปัจจุบัน คือ มีคนรวยที่สุด และคนจนที่สุด
มีคนฉลาดที่สุด และคนโง่ที่สุด
มีคนดีที่สุด และคนเลวที่สุด
ความรัก ทำให้เกิดการแบ่งปัน แก้ปัญหาสังคมแบบสุดโต่ง ไม่มีคนรวย ไม่มีคนจน
ไม่มีคนฉลาด ไม่มีคนโง่
ไม่มีคนดี ไม่มีคนเลว
ความรัก ทำให้เกิดความพอดี : เพราะสังคนนั้น คนกลุ่มนั้นจะไม่มีใครสักคนขัดสน เพราะ “กลุ่มผู้มีความเชื่อ ดำเนินชีวิตเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ไม่คิดว่าสิ่งที่ตนมีเป็นกรรมสิทธิ์ของตน แต่ทุกสิ่งเป้นของส่วนร่วม”
ความรัก ทำให้เกิดความพอประมาณ : รับรู้ถึงความพอประมาณ ซึ่งได้มาและการให้ไปของสิ่งของเงินทอง
ทำให้เกิดความเข้าใจอย่างมีเหตุผล : รับรู้ด้วยความเข้าใจและออกไปสู่การปฏิบัติจริงในสังคม
ทำให้เกิดมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี : รับรู้ถึงคุณค่าที่กระทำและไม่หวังตอบแทน


โดย นางสุภาภรณ์ เรือนหล้า
นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ ปฏิบัติราชการประจำสำนักงานวัฒนธรรมอำเภอเถิน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น