วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2553

หนาวๆ กลับอาหารอร่อยๆ ๒

สวัสดีครับทุกท่าน พบกับหนาวๆ กลับอาหารอร่อยๆ อีกครั้งนะครับ ครั้งนี้ผมมีอาหารที่มาพร้อมกับฤดูหนาวอีก ๑ อย่างครับ
ถ้าทุกท่านได้เดินทางมาทางภาคเหนือตอนบน ในช่วงพฤศจิกายน ถึง กุมภาพันธุ์ ตามข้างทางจะมีของรับประทานอย่างหนึ่งที่เห็นเป็นแท่นขาวๆตั้งอยู่ ที่ป้ายเขียนว่า ข้าวหลามลุง....... ข้าวหลามป้า....... ตลอดข้างทาง ใช่ครับข้าวหลามครับ ปัจจุบันมีการใส่ส่วนผสมและใส้ให้เลือกมากมาย ไม่ว่าจะใส่ถั่วดำ ใส่เผือก ใส่งา แต่ท่านที่ทานนั้นบางท่านจะรู้หรือไม่ว่าข้าวหลาม ทำอย่างไรมีส่วนผสมอะไรบาง ทำไม่ต้องมีช่วงฤดูหนาว เรามาทำความรู้จักกันข้าวหลามกันครับ
ข้าวหลามเป็นอาหารว่างชนิดหนึ่ง ที่ชาวล้านนานิยมทำรับประทานกันในฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงชาวบ้านได้เก็บเกี่ยวข้าวในนาเสร็จแล้ว...ลมหนาวพัดโชยมา เรียกว่า ลมว่าว...มาเยือน
วิธีทำ
1. ตัดไผ่ข้าวหลามหรือไม้ป้าง ให้ยาวประมาณ 12 นิ้ว ล้างเฉพาะด้านนอกกระบอก ให้สะอาด คว่ำ พักไว้ให้แห้ง 2. ผสมกะทิ น้ำตาล และเกลือ รวมกันแล้วคนให้เข้ากันจนน้ำตาลละลาย (แบบชาวบ้าน ใช้ข้าวสารเหนียวกับน้ำเปล่า และเกลือเท่านั้น)3. ล้างข้าวสารให้สะอาด นำข้าวใส่ตระกร้าเพื่อให้สะเด็ดน้ำ ใส่ถั่วดำต้มสุกลงในข้าว คลุกเคล้าให้เข้ากัน4. นำข้าวที่ผสมถั่วดำแล้วใส่ลงในกระบอก 1 กำมือ กระแทกเบาๆ ทำสลับกันต่อไปเรื่อยๆ จนเต็มกระบอก เลือกด้านบนกระบอกไว้ประมาณ 2 นิ้ว สำหรับปิดจุก 5. เทน้ำกะทิที่ผสมแล้ว ใส่ลงไปในกระบอกข้าวทีละน้อย จนกระทั่งน้ำกะทิท่วมข้าว 6. ทำจุก ปิดกระบอกข้าวหลามโดยนำกาบมะพร้าวม้วนเป็นทรงกลมมาปิด ทิ้งไว้ประมาณ 5- 6 ชั่วโมง
(จุก จะทำมาจาก ใบตอง กากมะพร้าว หรือฟางข้าว ก็ได้)7. เผาข้าวหลามกับถ่านไม้ พอกระบอกเหลืองให้หมุนกระบอกข้าวหลาม ใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที สังเกตกระบอกมีสีเหลืองทั่ว แสดงว่าข้าวหลามสุก8. ทิ้งไว้ให้อุ่น ปอกเปลือก และเหลาให้เปลือกข้าวหลามบางลง เพื่อให้แกะรับประทานได้ง่าย
การทำข้าวหลาม คนโบราณมีความในแอบแฝงอยู่นะครับ คือการทำข้าวหลามจะต้องอยู่หน้ากองไฟตลอดทำให้เกิดความอบอุ่นแก้หนาวได้ แถมมีอาหารว่าอร่อยๆท่านด้วย และที่สำคัญการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวหรือหมู่คณะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ทำให้สังคมชุมชนมีความสมัครสมานสามัคคีเข้าใจกันยิ่งขึ้น และก็มีอีกในหนึ่งสำหรับคนทางภาคเหนือ ที่เกี่ยวข้องกับข้าวหลามนะครับ คือ ประเพณีทานข้าวจี่-ข้าวหลาม โดยในช่วงวันเพ็ญเดือน 4 เหนือ เดือน ยี่ ใต้ คือ เดือนมกราคม เป็นเดือนที่ชาวนาเก็บเกี่ยวข้าวแล้วนำไปใส่ยุ้งฉาง ชาวล้านนาไทยนิยมทำบุญทำทานก่อนที่ตัวเองจะบริโภค เพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่เทพยดา มีแม่โพสพ เป็นต้น ให้ช่วยคุ้มครองดูแลข้าวเปลือกในยุ้งฉางหลองข้าวของตน มิให้สิ่งอื่นใดมารบกวน ทำให้การกินข้างเปลือกหมดเร็ว การทำบุญทานข้าวจี่เข้าหลาม มีการทำดังนี้ การเตรียมข้าวจี่ ในสมัยโบราณชาวล้านนาไทยนิยมการทำอาหารให้สุกด้วยการจี่ การเผา การปิ้ง การย่าง เป็นส่วนมาก ไม่ใช่การทอดอย่างในปัจจุบัน ดังนั้นคนในสมัยโบราณจึงมีอายุยืนเพราะไม่มีไขมันอุดตันเส้นเลือดอย่างคน สมัยปัจจุบัน
ท้ายนี้ผมยังมีเรื่องอาหารการกินซึ่งเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมทางล้านนา มาเล่าสู่กันอีกนะครับสวัสดีครับ
เขียนโดย นายชิตพร พูลประสิทธิ์ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น