วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

องค์ความรู้เรื่องการสานชะลอม

"""""""""ชะลอม จัดเป็นเครื่องจักสานอีกประเภทหนึ่งถือเป็นงานหัตถกรรม ที่แสดงให้เห็นถึง
ภูมิปัญญาอันเฉลียวฉลาดของคนในท้องถิ่นในชนบทที่สามารถนำอุปกรณ์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาประยุกต์เป็นวัตถุดิบ เพื่อประดิษฐ์เครื่องใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน โดยเน้นประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก ชะลอมเป็นภาชนะสานโปร่งด้วยลายเฉลว ก้นเป็นรูป 6 เหลี่ยม ตัวกลม ที่ปากจะเหลือตอกไว้ สำหรับมัดปิดของที่อยู่ภายใน และใช้เป็นที่หิ้วไปด้วย ชะลอมจะมีความสูงโดยประมาณ 25 - 30 ซ.ม. ชะลอมใช้ใส่ข้าวของสำหรับเดินทางซึ่งได้แก่ พวก ผลไม้ และของแห้งต่าง ๆ
วัสดุอุปกรณ์
๑) ตอกที่จักสำเร็จกว้าง 1 ซ.ม. ยาว 180 ซ.ม. 12 เส้น ๒)หวายเทียมยาวประมาณ 2 เมตร 1 เส้น
๓) ตัวหนีบขนาดกลาง 6 ตัว


ขั้นตอนการสานชะลอม
ขั้นที่ 1 นำตอกมาวางซ้อนกันเป็นรูปกากบาทโดยให้เส้นที่ 1 ด้านบนทแยงไปทางซ้ายมือ
ตอกเส้นที่ 2 ด้านบนทแยงไปทางขวามือ
ขั้นที่ 2 นำตอกมาสอดสลับทั้ง 2 ด้านให้ตอกแนวขวางเส้นที่ 1 ด้านบนทับเส้นขวามือและสอดใต้เส้นซ้ายมือ
ขั้นที่ 3 นำตอกมาทับเส้นแนวขวางเส้นล่างแล้วสอดเส้นแนวขวางด้านบนจากนั้นนำมาทับเส้นแนว ทแยง
ขั้นที่ 4 นำตอกเส้นที่ 5 มาสอดเส้นแนวขวางด้านล่าง ทับเส้นแนวขวางด้านบนจากนั้นสอดเส้นแนวทแยง
ขั้นที่ 5 นำตอกเส้นที่ 6 มาทับเส้นแนวทแยงขวาง แล้วสอดเส้นแนวขวางด้านล่างทับเส้นแนวทแยง เส้นที่ 2 สอดเส้นแนวขวางด้านบน
ขั้นที่ 6 ยกตอกเส้นแนวทแยงขวางเส้นที่ 2 ทับเส้นแนวขวางด้านล่าง
ขั้นที่ 7 นำตอกเส้นที่ 7 มาสอดใต้เส้นทแยงทางขวามือด้านล่าง ทับเส้นที่ 2 สอดเส้นแนวขวางด้านล่าง ทับเส้นแนวขวางด้านบน
ขั้นที่ 8 นำตอกเส้นที่ 8 มาสอดเส้นแนวตั้งเส้นที่ 1 ทับเส้นแนวตั้งเส้นที่ 2 สอดเส้นแนวทแยงทับ เส้นแนวตั้งเส้นที่ 3 สอดเส้นแนวทแยงเส้นที่ 2 ยกเส้นแนวตั้งเส้นที่ 3 ทับเส้นแนวทแยง เส้นที่ 1
ขั้นที่ 9 นำตอกเส้นที่ 9 สอดเส้นแนวขวางด้านบนทับเส้นที่ 2 สอดใต้เส้นแนวตั้งเส้นที่ 1 ทับเส้น แนวขวางด้านล่าง สอดใต้เส้นแนวตั้งเส้นกลางทับเส้นแนวตั้งยกเส้นแนวขวางด้านล่างทับ เส้นแนวตั้งเส้นแรก
ขั้นที่ 10 นำตอกเส้นที่ 10 สอดใต้เส้นแนวตั้งเส้นแรกทับเส้นที่ 2 สอดเส้นแนวทแยงด้านล่างทับ เส้นแนวตั้งเส้นที่ 3 สอดเส้นแนวทแยงเส้นกลางเส้นที่ 2 ทับ เส้นแนวทแยงเส้นที่ 3 ยกเส้นแนวตั้งเส้นที่ 1 ด้านขวามือทับเส้นแนวทแยงด้านล่าง
ขั้นที่ 11 นำตอกเส้นที่ 11 มาสอดใต้เส้นแนวทแยงด้านล่าง (เส้นที่ 1) ทับเส้นแนวทแยงด้านล่าง (เส้นที่ 1) ทับเส้นแนวทแยงเส้นที่ 2 สอดเส้นแนวขวางด้านล่างทับเส้นแนวทแยงด้านบน สอดเส้นแนวขวางเส้นที่ 2 ด้านล่าง ทับเส้นที่ 2 ด้านบน สอดเส้นแนวขวางด้านบนเส้นที่ 1
ยกเส้นแนวทแยงด้านบนทับเส้นแนวขวางด้านล่าง
ขั้นที่ 12 นำตอกเส้นที่ 12 สอดเส้นแนวขวางด้านล่างเส้นที่ 1 ทับเส้นที่ 2 สอดเส้นแนวตั้งด้านขวามือ ทับเส้นแนวขวาง ด้านบนเส้นที่ 2 สอดเส้นแนวตั้งเส้นที่ 2 ด้านขวามือ ทับเส้นแนวขวาง เส้นแรกด้านบนสอดเส้นแนวตั้งเส้นที่ 2 ด้านซ้ายมือทับเส้นแนวตั้งทางขวามือ ยกเส้นแนว ขวางด้านบน เส้นที่ 2 ทับเส้นแนวตั้งทางขวามือเส้นแรก
ขั้นที่ 13 ยกเส้นข้างริมแนวขวางทั้ง 2 เส้นทับเส้นแนวทแยงด้านบน สอดเส้นแนวขวาง เส้นที่ 2 ด้านล่าง
ขั้นที่ 14 ยกเส้นริมอีกเส้นทับเส้นแนวขวางเส้นที่ 2 นำเส้นริมทั้ง 2 มุม แนวขวางมาไขว้กัน เป็นรูปกากบาท ยกเส้นที่ 2 แนวขวางด้านบน ทับส้นริมด้านล่าง (แนวขวาง)
ขั้นที่ 15 ยกเส้นริมด้านบนทับเส้นแนวขวางเส้นที่ 2 ด้านล่าง
ขั้นที่ 16 ทำเหมือนกันทุกด้าน
ขั้นที่ 17 จับสองเส้นคู่กากบาทที่เหลือไขว้กันถักต่อขึ้นไปเรื่อย ๆ เหมือนกันทุกด้าน
ขั้นที่ 18 เมื่อสานชะลอมเสร็จแล้ว รวบทำหูหิ้วชะลอมโดยรวบตอกที่สานข้างละ 6 เส้นแล้วใช้หวายเทียมพันให้สวยงาม
ขั้นที่ 19 รวบทำหูหิ้วชะลอมโดยรวบตอกที่สานข้างละ 6 เส้น
ขั้นที่ 20 จากนั้นใช้หวายเทียมพันให้สวยงาม

โดย รัตนา

3 ความคิดเห็น: