วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ทำไมจึงเรียก “ฮอทดอก”

"""""""""""ฮอทด็อก หรือที่คนไทยเรียกไส้กรอก เป็นอาหารยอดฮิตอย่างหนึ่งในโลก และเป็นวัฒนธรรม ตะวันตกอย่างหนึ่ง ที่หลั่งไหลเข้ามายังประเทศไทย คำเรียกภาษาไทยว่า "ไส้กรอก" หลายคนก็คงนึกออกว่า หมายถึงการนำไส้สัตว์อะไรสักอย่าง มากรอกไส้ ซึ่งก็คือเนื้อสัตว์เข้าไป แต่ถ้าเป็นภาษาอังกฤษ "ฮอทด็อก" ซึ่งแปลตรงตัวว่า "หมาร้อน" มีที่มาอย่างไร อยากรู้มั๊ยครับ..........
ฮอทด็อกเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยบาบิโลเนีย เมื่อประมาณ 3,500 ปีมาแล้ว ชาวโรมันได้นำเนื้อหมักเครื่องเทศ มายัดไว้ในไส้สัตว์ และเรียกอาหารชนิดนี้ว่า Salsus ซึ่งต่อมาเรียกเพี้ยนเป็น Sausage ในภาษาอังกฤษนั่นเอง ในสมัยยุคกลาง ชาวยุโรปได้พัฒนาสูตร รสชาติ และรูปร่างไส้กรอกเป็นของตนเอง และตั้งชื่อไส้กรอกตามชื่อเมือง ที่เป็นถิ่นกำเนิด เช่น ไส้กรอกเวียนนา เป็นต้น เยอรมนีถือเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงทางด้านไส้กรอก ตำรับไส้กรอกหลากหลายยี่ห้อล้วนถือกำเนิดที่นี่ แต่ที่โด่งดัง เป็นที่นิยมกันมาก เห็นจะได้แก่ แฟรงเฟอเตอร์ ซึ่งผู้ผลิตขึ้นคนแรกเป็นชาวแฟรงค์เฟิร์ต แฟรงเฟอเตอร์ เป็นไส้กรอกขนาดหนา เนื้อนุ่ม ใส่เครื่องเทศ และรมควันจนหอมกรุ่น มีรูปร่างโค้งเล็กน้อย คล้ายรูปร่างของสุนัขดัชชุนด์ กล่าวกันว่า ผู้คิดไส้กรอกชนิดนี้ ได้แรงบันดาลใจจากสุนัขดัชชุนด์ที่เขาเลี้ยงไว้ ก็เลยทำไส้กรอกออกมาให้รูปร่างเหมือนสุนัข และบางคนก็เลยเรียกไส้กรอกประเภทนี้ว่า "ไส้กรอกดัชชุนด์"
""""""""""ในสมัยที่ชาวยุโรปอพยพไปอยู่ที่อเมริกา แน่นอนต้องนำอาหารยอดฮิตนี้ติดตัวไปด้วย และความอร่อยก็ทำให้ไส้กรอก กลายเป็นอาหารยอดฮิตของอเมริกันชน ผู้พิสมัยความรวดเร็วในทุกด้าน ในปี ค.ศ. 1906 นักวาดการ์ตูนชื่อ โทมัน ดอร์แกน ได้แรงบันดาลใจจากรูปร่างของไส้กรอกดัชชุนด์ และเสียงพ่อค้าขายไส้กรอก ที่มักเรียกความสนใจจากลูกค้าด้วยการ "เห่า" จึงวาดรูปการ์ตูนเป็นรูป สุนัขดัชชุนด์ประกบด้วยขนมปัง ราดมัสตาร์ด และเขียนบรรยายใต้ภาพว่า "ซื้อหมาร้อนๆ" มีคนเล่ากันต่อมาว่า ที่นายดอร์แกนต้องเขียนเช่นนั้น ก็เพราะแกสะกดคำว่า ดัชชุนด์ไม่ได้ ก็เลยใช้คำว่า "หมา" แทน การ์ตูนดังกล่าวคงจ๊าบโดนใจคนหลายคน คนอเมริกันก็เลยพากันเรียกไส้กรอกว่า "ฮอทด็อก" ไปตามๆ กัน ชาวจีนก็เรียกทับศัพท์ตามไอ้กันว่า "เย่อโก่ว" แปลได้ว่า.."หมาร้อน"....
ที่มาhttp://www.ranthong.com
โดย อุดม อนุพันธิกุล นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น