วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การส่งตัวเปิ้งตัวจน

การส่งตัวเปิ้งตัวจน หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “การส่งตั๋วเปิ้งตั๋วจน” เป็นพิธีกรรมความเชื่อทางไสยศาสตร์อย่างหนึ่ง ที่เชื่อว่าจะช่วยในการปัดเป้าบรรเทาเคราะห์ร้ายที่เกิดขึ้นกับคนแต่ละคน ตามช่วงอายุต่าง ๆ ตามที่ตำราดิถีทั้งห้า ซึ่งเป็นตำราโบราณพื้นเมือง ของทางภาคเหนือได้ระบุไว้
“ตั๋วเปิ้ง” ตามความเชื่อของชาวบ้าน หมายถึง สิ่งที่เราสามารถพึ่งพิงได้เป็นสิ่งที่ช่วยเหลือเกื้อกูลเราให้ได้รับแต่ความสุขความเจริญ
“ตัวชน” หรือ “ตั๋วจน” หมายถึง สิ่งที่จะผลักดันหรือทำให้เราได้รับเคราะห์ร้าย ทำให้เกิดปัญญาอุปสรรคในชีวิต
ตั๋วเปิ้งตั๋วจน ตามความเชื่อของชาวบ้านสัตว์ต่าง ๆ จำนวน ๘ ชนิด ได้แก่ ช้าง วัว รุ้งหรือที่เรียกในภาษากลางว่า เหยี่ยว แมว ราชสีห์ เสือ นาค และหนู โดยจัดตั๋วเปิ้ง ตั๋วจนเป็นคู่กันได้สี่คู่
สัตว์ที่จับคู่กันนี้ ถ้าตัวหนึ่งเป็นตั๋วเปิ้ง อักตัวหนึ่งที่คู่กันจะเป็นตั๋วจน เช่น ช้างเป็นตั๋วเปิ้ง ดังนั้นราชสีห์ที่คู่กับช้างจึงเป็นตั๋วจน ซึ่งผู้ที่จะบอกได้ว่าตั๋วเปิ้งตั๋วจนในปีนี้ของแต่ละปีนี้ของแต่ละคนเป็นอะไรก็คืออาจารย์ผู้ทำพิธีการส่งตั๋วเปิ้งจนจะทำเมื่อคนในบ้านเจ็บป่วยเรื้อรัง หรือมีเหตุให้คนในบ้าน ไม่สบายใจ ตัวผู้ป่วยหรือญาติพี่น้องไปปรึกษาอาจารย์ (ผู้มีความรู้)ให้ช่วยดูตำราให้ว่าช่วงอายุของผู้ป่วยจะมีเหตุร้ายอะไรหรือไม่ อาจารย์ (ผู้มีความรู้) ก็จะถามวัน เดือน ปีเกิด และนับอายุของผู้ป่วย เทียงกับตารางในตำราซึ่งอาจอยู่ในช่วงชะตา ซึ่งจะแบ่งชะตาขาก ๑ ชั้น ขาด ๒ ชั้น และขาด ๓ ชั้น ถ้าขาด ๓ ชั้น ถือว่าเป็นชะตาชีวิตที่ตกต่ำมาก อาจก่อให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต อาจารย์ (ผู้รู้) ก็จะแนะนำให้ทำพิธีส่งตั๋วเปิ้งตั๋วจน เป็นการต่อชะตาชีวิตโดยจะบอกให้ว่าตั๋วเปิ้งตั๋วจนเป็นสัตว์อะไร ผู้ที่จะทำพิธีไปจัดเตรียมอุปกรณ์ตามที่กำหนดผู้ที่ทำพิธีนี้ต้องเตรียมสะโตงประกอบพิธี ๒ อัน คือสะโตงตั๋วเปิ้งและสะโตงตั๋วจน โดยเป็นสะโตงขนาดเล็กกว้างยาวประมาณ ๖ – ๗ นิ้ว ไม่แบ่งเป็นห้อง สิ่งที่ต้องจัดเตรียมใส่กระทง ได้แก่ แกงส้ม แกงหวาน หมาก พลู กล้วย อ้อย เนื้อ ปลา ข้าวตอก ดอกไม้ ธูป ข้าวสุก จ้อสีต่าง ๆ และรูปปั้นสัตวที่เป็นตั๋วเปิ้งตั๋วจน จำนวนตามที่ตำรากำหนด ดังนี้
๑. ช้าง จ้อขาวและจ้อเหลืองพร้อมอุปกรณ์อื่น ๆ อย่างละ ๒๑ ชิ้น รูปช้างปั้น ๑ ตัว และรูปคนปั้นคน ๆ หนึ่ง เมื่อเสร็จพิธีนำสะโตงไปไว้ทางทิศเหนือ
๒. ราชสีห์ จัดอุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างละ ๑๕ ชิ้น รูปปั้นราชสีห์ ๑ ตัว รูปปั้นคน ๆ หนึ่ง เมื่อเสร็จพิธีนำสะโตงไปไว้ทางทิศใต้
๓. วัว จัดอุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างะ ๒๖ ชิ้น รูปปั้นวัว ๑ ตัว รูปปั้นคน ๆ หนึ่ง เมื่อเสร็จพิธี
นำสะโตงไปไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
๔. เสือ จัดอุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างละ ๑๐ ชิ้น รูปปั้นเสือ ๑ ตัว รูปปั้นคน ๆ หนึ่ง เมื่อเสร็จพิธีนำสะโตงไปไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้
๕. รุ้ง (เหยี่ยว) จัดอุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างละ ๖ ชิ้น รูปปั้น นก ๑ ตัว รูปปั้นคน ๆ หนึ่ง เมื่อเสร็จพิธีนำสะโตงไปไว้ทางทิศตะวันออก
๖. นาค จัดอุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างละ ๑๐ ชิ้น ตุงดำตัวหนึ่ง ยาวประมาณ ๑ คืบ รูปปั้นงู ๑ ตัว รูปปั้นคน ๆ หนึ่ง เมื่อเสร็จพิธีนำสะโตงไปไว้ทางทิศตะวันตก
๗. แมว จัดอุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างละ ๘ ชิ้น รูปปั้นแมว ๑ ตัว รูปปั้นคน ๆ หนึ่ง เมื่อเสร็จพิธีนำสะโตงไปไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้
๘. หนู จัดเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างละ ๑๒ ชิ้น รูปปั้นหนู ๑ ตัว รูปปั้นคน ๆ หนึ่ง เมื่อเสร็จพิธีนำสะโตงไปไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
การจัดทำพิธีให้นำสะโตงตั๋วเปิ้งตั๋วจน วางไว้บนเสื้อผ้าของผู้เข้าพิธี และวางคู่กันโดยอยู่หน้าผู้ทำพิธีที่นั่งหัสหน้าไปทางทิศตะวันตก อาจารย์นั่งอยู่หลังสุดแล้วกล่าวคำสวดส่งตั๋วเปิ้งตั๋วจน จนจบ แล้วประพรมน้ำส้มป่อย มะกรูดเผา นำด้ายมงคลมาผูกแขวนให้กับผู้เข้าพิธี แล้วนำสะโตงไปทิ้งตามทิศ ที่กำหนดเป็นเสร็จพิธี
ความคิดความเชื่อของผู้เข้าพิธีส่งตั๋วเปิ้งตั๋วจน ก็เช่นเดียวกับผู้เข้าพิธีการส่งเคราะห์แบบอื่น ๆ คือต้องการให้หมดเคราะห์ ได้ต่อชะตาชีวิต ที่เชื่อว่าขาดให้ยืนยาวต่อไป ตลอดจนหายจากโรคภัยไข้เจ็บที่มาเบียดเบียน การประกอบพิธีนี้ เมื่อมองดูอย่างผิวเผินดูเหมือนว่าจะเป็นสิ่งที่เหวไหลไร้สาระแต่เมื่อศึกษากันอย่างถ่องแท้แล้วจะทำให้ทราบว่าพิธีกรรมพื้นบ้านทุกอย่างที่จัดทำขึ้นมานั้นภูมิปัญญาชาวบ้านในการสร้างความหวังสร้างกำลังใจให้เกิดกับผู้เจ็บป่วยหรือทุกข์ใจไม่ให้ท้อแท้สิ้นหวัง ตอดจนเป็นสิ่งที่แสดงให้เป็นว่าญาติพี่น้องไม่ได้ทอดทิ้ง ทำให้เห็นชีวิตมีคุณค่าพร้อมที่จะสู้ปัญหาต่อไป
ความคิดความเชื่อของผู้เข้าพิธีส่งตั๋วเปิ้งตั๋วจน ก็เช่นเดียวกับผู้เข้าพิธีการส่งเคราะห์แบบอื่น ๆ คือ ต้องการให้หมกเคราะห์ได้ต่อชะตาชีวิต ที่เชื่อว่าขาดให้ยืนยาวต่อไป ตลอดจนหายจากโรคภัยไข้เจ็บที่มาเบียดเบียน การประกอบพิธีนี้ เมื่อมองอูอย่างผิวเผินดูเหมือนว่าจะเป็นสิ่งเหลวไหลสาระแต่เมื่อศึกษากันอย่างถ่องแท้แล้วจะทำให้ทราบว่าพิธีกรรมพื้นบ้านทุกอย่างที่จัดทำขึ้นมานั้นเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านในการสร้างความหวัง สร้างกำลังใจให้เกิดกับผู้เจ็บป่วย หรือทุกข์ใจไม่ให้ท้อแท้สิ้นหวัง ตลอดจนเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าญาติพี่น้องไม่ได้ทอดทิ้ง ทำให้เห็นชีวิตมีคุณค่าพร้อมที่จะสู้ปัญญาต่อไป
การศึกษาข้อมูลเหล่านี้ไว้ จึงเป็นสิ่งที่จะช่วยให้ประเพณีและพิธีกรรมพื้นบ้านเป็นที่รู้จักของอนุชนรุ่นหลังต่อไป จะกระทำได้ทุกวัน ทุกเดือน ยกเว้นวันพระ ๘ ค่ำ หรือ ๑๕ คู่ เมื่อได้กระทำการส่งตั๋วเปิ้งตั๋วจนแล้ว จะทำให้คนเรามีจิตใจสบาย เป็นที่พึ่งทางใจได้อีกอย่างหนึ่ง


โดย นางสาวจิราพร มณฑาทอง นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น