"""""""""อำเภอห้างฉัตร มีชุมชนหลากหลายเชื้อชาติ ที่รวมตัวกันอยู่ในพื้นที่อำเภอห้างฉัตร ในวันนี้
จะเล่าถึงชนเผาลั้ว ที่มาอาศัยอยู่ตำบลแม่สัน อำเภอห้างฉัตร พอประมาณ ดังนี้
ชาวบ้านโป่งขวากในปัจจุบัน สืบเชื้อสายมาจากชนเผ่าลั๊วะ ซึ่งเดิมที่อาศัยอยู่ในแคว้นสิบสองปันนา
ในประเทศพม่า ซึ่งต่อมาถูกพม่าตีแตกพ่าย จึงพากันอพยพมาอาศัยอยู่ที่ห้วยน้ำอุ่น อยู่ในเขตตำบลเสริมขวา อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปางในปัจจุบัน ชนเผ่าลั๊วะดั้งเดิม เป็นชนเผ่าที่ไม่อยากพบปะผู้คนแปลกหน้า ไม่ชอบสุงสิงกับใคร รักสงบ สันโดษ จะอยู่อาศัยรวมแต่พวกของตนเองเท่านั้น ต่อมามีกลุ่มคนไทย (ลื้อ) ชอบบังคับขู่เข็ญ ให้เข้าร่วมประชุม หรืออบรมตลอดจนบังคับให้เอาเด็กหญิงที่มีอายุ 14 – 15 ปี
ไปเป็นภรรยาจึงเกิดความไม่พอใจ ไม่ยอมทำตาม จึงพากันอพยพหนีมาอยู่ริมน้ำห้วยแม่คราว ( บ้านแม่ยามเหนือ
ในปัจจุบัน ) อยู่ได้ระยะหนึ่ง พวกคนไต ( คนไทย ) ก็ตามมารังควานอีก จึงได้พากันอพยพมาอาศัยอยู่ที่สบแม่สัน
( บริเวณลำห้วยแม่สันและลำห้วยแม่ยาวไหลมาบรรจบกัน ) ต่อมาเจ้าเมืองลำพูน ได้ทราบข่าวว่าพวกลั๊วะ ได้อพยพมาอยู่ที่นี่ จึงได้ประกาศออกคำสั่งกับพวกคนไต ( คนไทย) ห้ามไปยุ่งกับพวกลั๊วะอีก ให้เขาอยู่ที่นั่นแหละ หลังจากนั้นเจ้าเมืองลำพูน ได้ออกคำสั่งให้ผู้เฒ่าผู้แก่ของพวกล๊วะไปเข้าเฝ้าท่านเจ้าเมืองลำพูน ให้เข้าพบปะพูดจากันและนำของป่าไปถวายท่าน ด้วยความที่เจ้าเมืองลำพูนเป็นผู้ที่มีอัธยาศัยไมตรีดี เป็นคนขี้เล่น คุยสนุกสนาน เป็นที่ถูกอกถูกใจซึ่งกันและกัน ชาวล๊วะจึงมีความรู้สึกที่ดีต่อคนไทยชนอื่นๆ และได้เข้าร่วมประชุมร่วมกับชนอื่นๆด้วย ถึงแม้จะถูกดูหมิ่น ล้อเลียนบ้างก็ตาม ดังนั้นชนเผ่าลั๊วะหรือชาวบ้านโป่งขวาก จึงได้อยู่อาศัยและตั้งถิ่นฐาน อยู่ที่นี่จนถึงปัจจุบัน
"""""""""ที่มาของชื่อหมู่บ้าน “ โป่งขวาก ”
ตามเรื่องที่เล่าสืบต่อกันมาว่า ... พระยาแก้ว เจ้าผู้เป็นหัวหน้าเมืองชื่อเมืองยาว เป็นผู้มีความ
เก่งกล้าในการต่อสู้และมีเวทมนต์คาถา แต่เป็นผู้ที่มีหูเดียว (หูวิ่น) ได้ไปพบลูกสาวเจ้าพระยาลำปางหลวง ก็เป็นที่พึงพอใจเป็นอย่างยิ่ง อยากได้มาเป็นภรรยา จึงยกขันหมากไปสู่ขอ แต่พระยาลำปางหลวงไม่ยอมยกลูกสาวให้ เพราะเห็นว่าเป็นผู้ไม่สมประกอบ แม้ว่าพระยาแก้วจะบอกว่าจะดูแลลูกสาวอย่างดี พระยาลำปางหลวงก็ไม่ยอมยกลูกสาวให้ จึงเกิดการสู้รบกันขึ้น พระยาแก้วสู้พลางถอยพลางเพื่อล่อให้พระยาลำปางหลวงไล่ตามมา และให้ลูกน้องปักขวากหนามไว้ที่หนองน้ำของแพะโป่ง (ป่าโป่ง) จนทัพของพระยาลำปางหลวงไล่มาถึงนาโป่งหาร ทุ่งโป่งก๋อน และแพะโป่งที่มีขวากหนามปักอยู่ ทำให้ทหารของพระยาลำปางหลวง ถูกขวากหนามทิ่มแทงเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก แต่พระยาลำปางหลวง ก็ไม่ยอมแพ้ ไล่มาจนถึงนาปู้ (แมลงภู่) พระยาแก้ว เสกคาถาแมลงภู่ ไล่ต่อยทหาร เสกคาถามอดให้ไปกินด้ามหอก ดาบ อาวุธ จนหักหมด จนทหารของพระยาลำปางหลวง หนีถอยกลับหมด เหลือแต่พระยาลำปางหลวง พระยาแก้วจึงให้ทหารจับตัวพระยาลำปางหลวง ไปฝังทั้งเป็นที่ดอยกู่แก้วบ้านทุ่งหลวง ซึ่งก่อนที่พระยาลำปางหลวง จะเสียชีวิต ได้สั่งเสียไว้ว่า ให้หันหน้าตัวเองไปทางวัดพระธาตุลำปางหลวงและสาปแช่งลูกน้องที่ปล่อยให้สู้อยู่ตามลำพังว่า ถ้ามาที่ถิ่นเมืองยาว ขอให้เจ็บท้อง เจ็บไส้กันหมดเพราะเจ็บใจจริงๆ ดังนั้นชื่อป่าแพะโป่ง และขวาก จึงเป็นที่มาของบ้านโป่งขวาก
จะเล่าถึงชนเผาลั้ว ที่มาอาศัยอยู่ตำบลแม่สัน อำเภอห้างฉัตร พอประมาณ ดังนี้
ชาวบ้านโป่งขวากในปัจจุบัน สืบเชื้อสายมาจากชนเผ่าลั๊วะ ซึ่งเดิมที่อาศัยอยู่ในแคว้นสิบสองปันนา
ในประเทศพม่า ซึ่งต่อมาถูกพม่าตีแตกพ่าย จึงพากันอพยพมาอาศัยอยู่ที่ห้วยน้ำอุ่น อยู่ในเขตตำบลเสริมขวา อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปางในปัจจุบัน ชนเผ่าลั๊วะดั้งเดิม เป็นชนเผ่าที่ไม่อยากพบปะผู้คนแปลกหน้า ไม่ชอบสุงสิงกับใคร รักสงบ สันโดษ จะอยู่อาศัยรวมแต่พวกของตนเองเท่านั้น ต่อมามีกลุ่มคนไทย (ลื้อ) ชอบบังคับขู่เข็ญ ให้เข้าร่วมประชุม หรืออบรมตลอดจนบังคับให้เอาเด็กหญิงที่มีอายุ 14 – 15 ปี
ไปเป็นภรรยาจึงเกิดความไม่พอใจ ไม่ยอมทำตาม จึงพากันอพยพหนีมาอยู่ริมน้ำห้วยแม่คราว ( บ้านแม่ยามเหนือ
ในปัจจุบัน ) อยู่ได้ระยะหนึ่ง พวกคนไต ( คนไทย ) ก็ตามมารังควานอีก จึงได้พากันอพยพมาอาศัยอยู่ที่สบแม่สัน
( บริเวณลำห้วยแม่สันและลำห้วยแม่ยาวไหลมาบรรจบกัน ) ต่อมาเจ้าเมืองลำพูน ได้ทราบข่าวว่าพวกลั๊วะ ได้อพยพมาอยู่ที่นี่ จึงได้ประกาศออกคำสั่งกับพวกคนไต ( คนไทย) ห้ามไปยุ่งกับพวกลั๊วะอีก ให้เขาอยู่ที่นั่นแหละ หลังจากนั้นเจ้าเมืองลำพูน ได้ออกคำสั่งให้ผู้เฒ่าผู้แก่ของพวกล๊วะไปเข้าเฝ้าท่านเจ้าเมืองลำพูน ให้เข้าพบปะพูดจากันและนำของป่าไปถวายท่าน ด้วยความที่เจ้าเมืองลำพูนเป็นผู้ที่มีอัธยาศัยไมตรีดี เป็นคนขี้เล่น คุยสนุกสนาน เป็นที่ถูกอกถูกใจซึ่งกันและกัน ชาวล๊วะจึงมีความรู้สึกที่ดีต่อคนไทยชนอื่นๆ และได้เข้าร่วมประชุมร่วมกับชนอื่นๆด้วย ถึงแม้จะถูกดูหมิ่น ล้อเลียนบ้างก็ตาม ดังนั้นชนเผ่าลั๊วะหรือชาวบ้านโป่งขวาก จึงได้อยู่อาศัยและตั้งถิ่นฐาน อยู่ที่นี่จนถึงปัจจุบัน
"""""""""ที่มาของชื่อหมู่บ้าน “ โป่งขวาก ”
ตามเรื่องที่เล่าสืบต่อกันมาว่า ... พระยาแก้ว เจ้าผู้เป็นหัวหน้าเมืองชื่อเมืองยาว เป็นผู้มีความ
เก่งกล้าในการต่อสู้และมีเวทมนต์คาถา แต่เป็นผู้ที่มีหูเดียว (หูวิ่น) ได้ไปพบลูกสาวเจ้าพระยาลำปางหลวง ก็เป็นที่พึงพอใจเป็นอย่างยิ่ง อยากได้มาเป็นภรรยา จึงยกขันหมากไปสู่ขอ แต่พระยาลำปางหลวงไม่ยอมยกลูกสาวให้ เพราะเห็นว่าเป็นผู้ไม่สมประกอบ แม้ว่าพระยาแก้วจะบอกว่าจะดูแลลูกสาวอย่างดี พระยาลำปางหลวงก็ไม่ยอมยกลูกสาวให้ จึงเกิดการสู้รบกันขึ้น พระยาแก้วสู้พลางถอยพลางเพื่อล่อให้พระยาลำปางหลวงไล่ตามมา และให้ลูกน้องปักขวากหนามไว้ที่หนองน้ำของแพะโป่ง (ป่าโป่ง) จนทัพของพระยาลำปางหลวงไล่มาถึงนาโป่งหาร ทุ่งโป่งก๋อน และแพะโป่งที่มีขวากหนามปักอยู่ ทำให้ทหารของพระยาลำปางหลวง ถูกขวากหนามทิ่มแทงเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก แต่พระยาลำปางหลวง ก็ไม่ยอมแพ้ ไล่มาจนถึงนาปู้ (แมลงภู่) พระยาแก้ว เสกคาถาแมลงภู่ ไล่ต่อยทหาร เสกคาถามอดให้ไปกินด้ามหอก ดาบ อาวุธ จนหักหมด จนทหารของพระยาลำปางหลวง หนีถอยกลับหมด เหลือแต่พระยาลำปางหลวง พระยาแก้วจึงให้ทหารจับตัวพระยาลำปางหลวง ไปฝังทั้งเป็นที่ดอยกู่แก้วบ้านทุ่งหลวง ซึ่งก่อนที่พระยาลำปางหลวง จะเสียชีวิต ได้สั่งเสียไว้ว่า ให้หันหน้าตัวเองไปทางวัดพระธาตุลำปางหลวงและสาปแช่งลูกน้องที่ปล่อยให้สู้อยู่ตามลำพังว่า ถ้ามาที่ถิ่นเมืองยาว ขอให้เจ็บท้อง เจ็บไส้กันหมดเพราะเจ็บใจจริงๆ ดังนั้นชื่อป่าแพะโป่ง และขวาก จึงเป็นที่มาของบ้านโป่งขวาก
โดย ดวงสมร ขอบคำ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ
ผมขอขอบคุณที่ให้ความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของ หมู่บ้านโป่งขวาก ผมเป็นคน โป่งขวาก โดยกำเนิด ชื่อ บุญส่ง กาวิชัย บ้านเลขที่ 141 หมู่5 ต.แม่สัน
ตอบลบขอแสดงความคิกเห็นครับ ที่ฝั่งของพระลำปางหลวงไม่ใช่ดอยคู่แก้วครับ. เพราะดอยคู่แก้วนี้เป็นพระธาตุ. ส่วนดอยที่ฝังศพเจ้าพระยาลำปางอยู่ที่ ดอยมาดอยพระยาลำปางหลง ซึ่งคนบ้านทุ่งหลวงจะรู้ดี. เป็นดอยที่สูงที่สูงที่สุด. และไกลมากๆ. ปัจจุบันดอยม่อนพระยาลำปางนี่ยังมีหลังฐานอยู่คือ. หลุมฝังศพและของเก่าโบราณ. ว่ากันว่าหลุ่มนี้ฝังทั้งช้างและคน. คนับ
ตอบลบ