.......- ปวดบริเวณบั้นเอว ร้าวไปถึงหลัง หรือร้าวลงมาบริเวณขาหนีบ และหน้าขา
.......- ปัสสาวะขัด เวลาปวดปัสสาวะ และปัสสาวะอาจมีสีเหมือนน้ำล้างเนื้อหรือเลือด
.......- ปัสสาวะขุ่น
.......- อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน
.......- มีไข้สูง หนาวสั่น ปวดเอว ถ้ามีการอักเสบรุนแรงของไต
การรักษา
...... การรักษา ขึ้นกับขนาดและตำแหน่งของก้อนนิ่ว ผงนิ่วเล็ก ๆ ที่ติดฝังอยู่ในเนื้อไต แพทย์จะให้คำแนะนะและรอดูอาการ โดยไม่ทำอะไร หากนิ่วก้อนเล็ก ๆ ขนาดไม่เกินครึ่งเซนติเมตร หรือเท่าหัวไม้ขีด มักจะหลุดได้เอง โดยไม่ต้องทำการผ่าตัด แพทย์จะแนะนำให้ดื่มน้ำมาก ๆ ให้ยาบางชนิด เพื่อรักษาอาการปวดและขับปัสสาวะ ทำให้ก้อนนิ่วหลุดได้ง่ายขึ้น ส่วนนิ่วก้อนใหญ่ ไม่มีทางหลุดออกได้เอง แพทย์จะแนะนำให้เอาออก โดยอาจจะใช้เครื่องมือหรือทำการผ่าตัด
การป้องการไม่ให้เป็นนิ่วซ้ำอีก คือ ควรรู้จักหลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นต้นเหตุของการเกิดนิ่ว โดยมีหลักดังนี้
.......๑. นิ่วชนิดแคลเซียมออกซาเลต ควรลดอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมและออกซาเลตสูงพร้อม ๆ กัน
และลดอาหารเค็มจัด หรือวิตามินซีเกินความจำเป็น (ปกติร่างกายต้องการวิตามินซี วันละ ๔๐๐ – ๕๐๐
มิลลิกรัม ไม่ควรให้เกินวันละ ๑ กรัม เพราะวิตามินซี ทำให้ มีการดูดซึมของแคลเซียมและมีการสร้าง
ออกซาเชตสูง)
.......๒. นิ่วชนิดกรดยูริกและเกลือยูริก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่มีกรดยูริกในเลือดสูงหรือผู้ป่วยที่เป็นโรคเกาต์
ควรเลี่ยงอาหารที่มีสารฟิวรีนสูง เพราะตับจะเปลี่ยนสารนี้ให้เป็นกรดยูริกและขับออกทางปัสสาวะ จึง
ควรงดอาหารที่มีฟิวรินสูง และไม่ควรบริโภคอาหารที่มีฟิวรีน ปานกลางมากนัก
.......๓. นิ่วชนิดแคลเซียมฟอสเฟต แมกนีเซียมแอมโมเนียฟอตเฟต มักเกิดจากการอักเสบของทางเดินปัสสาวะต้องคอยตรวจปัสสาวะและใช้ยาปฏิชีวนะภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
โดย ลัดดา คิดอ่าน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น