วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ฟ้อนมองเซิง

บ้านเมาะหลวง ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ได้รับการสืบทอดศิลปะการแสดง ฟ้อนมองเซิงต่อมาจากบรรพบุรุษซึ่งเป็นชาวไทใหญ่ โดยมีหลักฐานความเป็นมาปรากฏแสดงที่พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ศูนย์เรียนรู้ชุมชนอนุรักษ์คำเมืองบ้านเมาะหลวง วัดเมาะหลวง ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง การเผยแพร่
กลองมองเซิง เป็นกลองที่ได้รับอิทธิพลจากชาวไทใหญ่ พบเห็นโดยทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่และแม่ฮ่องสอน
กลองมองเซิง คือ กลองที่ขึงด้วยหนังทั้งสองหน้ามีสายโยงเร่งเสียง รูปร่างคล้ายตะโพนมอญ ไม่มีขาตั้ง แต่มีสายร้อยสำหรับคล้องคอเวลาตี เฉพาะคำว่า “มองเซิง” เป็นภาษาไทใหญ่โดยที่ คำว่า “มอง” แปลว่า “ฆ้อง” ส่วน“เซิง” แปลว่า “ชุด” กลองมองเซิงจึงหมายถึงกลองที่ใช้ฆ้องเป็นชุด เพราะวงกลองมองเซิงจะเน้นเสียงฆ้องเป็นหลักใหญ่




กลองมองเซิง """""...........ฬฬใ............................................................................................................ใการแสดงตีกลองมองเซิงของอำเภอแม่เมาะ ใช้กลองมองเซิง ๑ ลูก ฉาบขนาดใหญ่ ๑ คู่ ฆ้องขนาดใหญ่และเล็กลดหลั่นลงไปประมาณ ๕ - ๙ ใบ ขณะบรรเลงกลองมองเซิงจะตีรับกับฉาบ โดยลักษณะอาการล้อทางเสียงหลอกล่อกันไป ในขณะที่มีเสียงฆ้องเป็นตัวกำกับจังหวะ ซึ่งมีบางแห่งเพิ่มฉิ่งตีกำกับจังหวะไปพร้อมๆ กับฆ้องด้วย
วงกลองมองเซิงใช้ประโคมในงานบุญของวัด ขบวนแห่ครัวทาน และประกอบการฟ้อนพื้นเมือง รวมทั้งขบวนแห่นาคสามเณรที่ล้านนาเรียก “ลูกแก้ว” ไทใหญ่เรียก “ส่างลอง”
ปัจจุบัน วงกลองมองเซิงยังเป็นที่นิยมกันอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการใช้แห่ขบวน ใช้บรรเลงประกอบการฟ้อน เช่น ฟ้อนกลายลาย ฟ้อนดาบ ฟ้อนเจิง เป็นต้น







โดย รัตนา สันตกิจ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น