.....คุณเสี่ยงกับมะเร็งปากมดลูกหรือไม่
- มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย ต่ำกว่า ๑๘ ปี
- เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
- สามีหรือคู่นอนสำส่อนทางเพศ
- สตรีที่เคยเป็นโรคติดเชื้อจากการร่วมเพศ เช่น กามโรค
- สตรีที่เคยเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่บริเวณอวัยวะเพศ เช่น เริม หงอนไก่
- ผู้ที่ภูมิคุ้มกันต่ำ หรือบกพร่อง เช่น ผู้ที่รับยาหลังการเปลี่ยนอวัยวะหรือผู้ติดเชื้อเอดส์
- สตรีที่ติดบุหรี่ หรือผู้ใกล้ชิดเป็นผู้ติดบุหรี่
เมื่อพบภาวะผิดปกติดังต่อไปนี้ ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์
มะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มแรก จะมีอาการ ดังนั้นการป้องกันจึงจำเป็นต้องรับการตรวจตั้งแต่ไม่มีอาการ
- มีตกขาวออกมาผิดปกติ อาจมีเลือดปนและมักมีกลิ่นเหม็น
- มีประจำเดือนไม่ปกติ กะปริบกะปรอย หรือบางครั้งออกมาก
- มีเลือดออกขณะ หรือหลังร่วมเพศ
- มีเลือดออกหลังวัยหมดประจำเดือน
- อ่อนเพลีย ซีด เบื่ออาการ น้ำหนักลด
- มีการบวม ปัสสาวะไม่ออก หรือไหลไม่หยุด
- ปวดท้องน้อย หรือมีอาการผิดปกติของอวัยวะอื่นเมื่อโรคลุกลามไปถึง
ผลข้างเคียง - ทำการตรวจหามะเร็งปากมดลูกปีละครั้ง หรือเมื่อมีอาการผิดปกติ เช่น ตกขาว หรือมีเลือดออกผิดปกติ
- สตรีอายุ ๓๐ ปีขึ้นไป ควรรับการตรวจภายใน เพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูก
- สตรีที่รับการคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมน เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด หรือสตรีที่อยู่ในภาวะเสี่ยงควรได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกทุก ๖ เดือน
- ไม่ควรสูบบุหรี่ หรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้สูบบุหรี่
- ละเว้นการมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย หรือเปลี่ยนคู่นอนบ่อย
- ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV Vaccine) เพื่อป้องกันมะเร็งปากมดลูก ซึ่งจะมีประสิทธิภาพสูงสุด หากยังไม่เคยได้รับเชื้อนี้มาก่อน สามารถป้องกันได้ตั้งแต่อายุ ๙ ปีขึ้นไป
ที่มา : http://www.phuketbulletin.co.th/health&beauty/view.php?id=๑๒๒
โดย เสาวภาคย์ คงแสง นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น