บัวหลวงมาใช้ประโยชน์มากมาย
ประโยชน์ทางพระพุทธศาสนา
บัวหลวง นับว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงามในทางพระพุทธศาสนา ซึ่งนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันคนไทยก็ยังนิยมนำดอกบัวหลวงมาใช้บูชาพระ ยากที่จะหาไม้ดอกชนิดอื่นมาทดแทนได้ได้ .....................................................................................................................
บัวหลวง นับว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงามในทางพระพุทธศาสนา ซึ่งนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันคนไทยก็ยังนิยมนำดอกบัวหลวงมาใช้บูชาพระ ยากที่จะหาไม้ดอกชนิดอื่นมาทดแทนได้ได้ .....................................................................................................................
คุณค่าทางอาหาร
บัวหลวง นอกจากดอกที่สามารถผลิตเพื่อการค้าได้แล้ว ส่วนต่างๆของบัวหลวงก็มีคุณค่าในเรื่องของการประกอบอาหาร และในเรื่องของการนำมาใช้เป็นยา ทางด้านเภสัชวิทยาพบว่า มีสารที่เป็นตัวยาสำคัญๆ เช่น สาร nuciferine มีฤทธิ์กดประสาท ต้านการอักเสบ ลดไข้ แก้ไอ และมีผลในการยับยั้งการหลั่งสาร serotonin
................๑. ดีบัว มีฤทธิ์เพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจ และเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ
บัวหลวง นอกจากดอกที่สามารถผลิตเพื่อการค้าได้แล้ว ส่วนต่างๆของบัวหลวงก็มีคุณค่าในเรื่องของการประกอบอาหาร และในเรื่องของการนำมาใช้เป็นยา ทางด้านเภสัชวิทยาพบว่า มีสารที่เป็นตัวยาสำคัญๆ เช่น สาร nuciferine มีฤทธิ์กดประสาท ต้านการอักเสบ ลดไข้ แก้ไอ และมีผลในการยับยั้งการหลั่งสาร serotonin
................๑. ดีบัว มีฤทธิ์เพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจ และเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ
................๒. ฝักบัว ฝักบัวประกอบด้วยสารกลุ่มแอลคาลอย ๔ ชนิด ได้แก่ สาร nuciferine , N-nornuciferine liriodenine และ N-noramepavine และสารกลุ่มพาโวนอยด์ คือ quercitin ซึ่งมีฤทธิ์ในการห้ามเลือดได้เนื่องจากมีสาร quercitin
................๓. เมล็ดบัว ใช้บำรุงร่างกาย แก้ไข้ซึ่งมีสารสกัดแอลกอฮอล์ต้านอนุมูลอิสระ สารสกัดแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ต้านความเป็นพิษของตับได้ในขนาด ๓๐๐ mg/Kg
................๔. เกสรบัว เกสรบัวมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย สารสกัดจากน้ำของเกสรมีฤทธิ์ที่ต้านเชื้อก่อให้เกิดฝีหนอง เชื้อที่ก่อให้เกิดโรคท้องร่วง และสารสกัดแอลกอฮอลืมีฤทธิ์ต้านเชื้อ B-steptococcus group A มีฤทธิ์ต้านเชื้อราและยีสต์
...............๕. ใบบัว มีฤทธิ์ในการลดคลอเรสเตอรอล สารสกัดแอลกอฮอล์จากใบแห้งมีผลป้องกันไม่ให้ระดับคลอเรสเตอรอลในเลือดสูง และสาร nuciferine มีฤทธิ์ในการกดประสาทต้านการอักเสบ ลดไข้ แก้ไอ มีผลยับยั้งการหลั่งสาร sertonin
...............๖. ก้านบัว เป็นสารสกัดแอลกอฮอล์จากก้านดอกในขนาด ๒๐๐ และ ๔๐๐ mg/kgมีฤทธิ์ลดไข้ในหนุทดลองปกติได้นาน ๓ และ ๖ ชั่วโมง ตามลำดับ และในหนูที่ทำให้เป็นไข้ด้วยยีสต์ได้นาน ๔ ชั่วโมง โดยเปรียบเทียบกับยาพาราเซตามอล
...............๗. รากบัว สามารถแก้อาการท้องเสีย สารสกัดจากเหง้าสามารถลดปริมาณของอุจจาระและการบีบตัวของลำไส้ ลดน้ำตาลในเลือด สารสกัดแอลกอฮอล์จากเหง้ามีฤทธิ์ลด น้ำตาลในเลือด ฤทธิ์ต้านการ
อักเสบ สารสกัดจากแอลกอฮอล์และสาร betulinic acid สกัดได้จากส่วนของเหง้ามีฤทธิ์ต้านการอักเสบได้ เทียบเท่ายามาตรฐาน phenylbutazzone และ dexamethasone สารสกัดแอลกอฮอล์จากเหง้ามีผลต่อระบบประสาท ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว และมีฤทธิ์เป็นยานอนหลับ ลดไข้ ลดอาการเกร็งของลำไส้เล็ก
อักเสบ สารสกัดจากแอลกอฮอล์และสาร betulinic acid สกัดได้จากส่วนของเหง้ามีฤทธิ์ต้านการอักเสบได้ เทียบเท่ายามาตรฐาน phenylbutazzone และ dexamethasone สารสกัดแอลกอฮอล์จากเหง้ามีผลต่อระบบประสาท ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว และมีฤทธิ์เป็นยานอนหลับ ลดไข้ ลดอาการเกร็งของลำไส้เล็ก
..............บัวหลวงนับเป็นพันธุ์ไม้น้ำอีกชนิดหนึ่งที่มีคุณค่า ที่มีประโยชน์ในด้านของปัจจัย ๔ ที่มนุษย์ทุกคนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมากมาย ทั้งในด้านการบริโภคโดยตรง หรือการนำมาใช้ในส่วนประกอบของยา ในการรักษาโรคต่างๆได้เป็นอย่างดี ซึ่งหากคนไทยมองเห็นความสำคัญและสามารถปรับปรุงพันธ์ของบัวหลวงให้มีความพิเศษ ในด้านการสกัดสารมาใช้ประโยชน์ บัวหลวง ก็น่าจะเป็นพืชที่มีคุณค่าแก่วงการแพทย์ได้เป็นอย่างดี
ประโยชน์ทางด้านปัจจัย ๔
..............ปัจจัย ๔ ก็ประกอบไปด้วย ที่อยู่อาศัย อาหาร ยารักษาโรค และเครื่องนุ่งห่ม บัวหลวงสามารถนำไปประยุกต์ได้หลากหลายอย่าง เช่น การนำมาทำเป็นอาหาร ยารักษาโรคก็มีอย่างมากมาย และในสมัยปู่ย่าก็มีการนำเอา ใบของบัวหลวงมาทำเป็นห่อใส่อาหารอีกด้วย
ประโยชน์ทางด้านปัจจัย ๔
..............ปัจจัย ๔ ก็ประกอบไปด้วย ที่อยู่อาศัย อาหาร ยารักษาโรค และเครื่องนุ่งห่ม บัวหลวงสามารถนำไปประยุกต์ได้หลากหลายอย่าง เช่น การนำมาทำเป็นอาหาร ยารักษาโรคก็มีอย่างมากมาย และในสมัยปู่ย่าก็มีการนำเอา ใบของบัวหลวงมาทำเป็นห่อใส่อาหารอีกด้วย
ที่มา: www.krudung.com/webpage/webst.../lotus%๒๐๔%๒๐.html
โดย จิราภรณ์ กาญจนา นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น