ชุธาตุ คือ องค์เจดีย์ ประจำปีเกิด ตามตำรากล่าวไว้ เมื่อวิญญาณลงมาจากแถนแล้วจะมาพัก
ชั่วคราวอยู่ที่เจดีย์ประจำปีเกิด ก่อนที่จะมาปฏิสนธิที่ครรภ์มารดา
ธาตุ หรือเจดีย์ประจำปีเกิดมี ดังนี้
ปีใจ้ (ภาษาถิ่นล้านนา) ปีชวด, หนู พระธาตุจอมทอง (จังหวัดเชียงใหม่)
ปีเป้า (ภาษาถิ่นล้านนา) ฉลู, วัว พระธาตุช่อแฮ (จังหวัดแพร่)
ปียี (ภาษาถิ่นล้านนา) ขาล, เสือ พระธาตุลำปางหลวง (จังหวัดลำปาง)
ปีเหม้า (ภาษาถิ่นล้านนา) เถาะ, กระต่าย พระธาตุแช่แห้ง (จังหวัดน่าน)
ปีสี (ภาษาถิ่นล้านนา) มะโรง, งูใหญ่ พระพุทธสิหิงค์ หรือเจดีย์วัดพระสิงห์ (จังหวัดเชียงใหม่)
ปีใส้ (ภาษาถิ่นล้านนา) มะเส็ง, งูเล็ก สถานที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ (โพธิคยา)
ปีสะง้า (ภาษาถิ่นล้านนา) มะเมีย, ม้า พระธาตุตะโก้ง (ร่างกุ้ง พม่า)
ปีเม็ด (ภาษาถิ่นล้านนา) มะแม, แพะ พระธาตุดอยสุเทพ (จังหวัดเชียงใหม่)
ปีสัน (ภาษาถิ่นล้านนา) วอก, ลิง พระธาตุพนม (จังหวัดนครพนม)
ปีเล้า (ภาษาถิ่นล้านนา) ระกา, ไก่ พระธาตุหริภุญไชย (จังหวัดลำพูน)
ปีเส็ด (ภาษาถิ่นล้านนา) จอ, หมา พระธาตุเกศแก้วจุฬามณี (ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์)
ปีไก๊ (ภาษาถิ่นล้านนา) กุน, หมู /ช้าง) พระธาตุดอยตุง (จังหวัดเชียงราย)
ในปัจจุบันมีวัดที่สร้างพระธาตุ หรือ เจดีย์ ๑๒ ราศี ซึ่งเป็นเจดีย์ปีเกิดทั้ง ๑๒ ปี อยู่หลายวัด
การไปกราบไหว้ หรือไปทำบุญไปได้ง่ายและสะดวกไม่ต้องเดินทางไปไกล หรือไปต่างประเทศ เมื่อถึง
วันเกิด หรือครบรอบวันเกิด ผู้ที่มีวันเกิดในปีเกิดนั้น ๆจะไปทำบุญตามวัดที่มีเจดีย์ ๑๒ ราศี และกราบไหว้พระประจำวันเกิดของตนเองเพื่อขอพรให้มีความสุข ความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต หรือด้านหน้าที่การงานและ
ครอบครัว
การได้ไปนมัสการพระธาตุ หรือเจดีย์ประจำปีเกิดของเราแล้ว มีความเชื่อว่าอย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิต ถ้าได้ไปกราบไหว้ตั้งจิตอธิษฐานขอสิ่งใดแล้ว ย่อมเกิดผลสำเร็จเป็นมงคลของชีวิตเป็นความเชื่อของ
ชาวล้านนาที่ได้ปฏิบัติสืบทอดกันมา
โดย นางน้ำทิพย์ มณฑาทอง นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ ปฏิบัติงานประจำอำเภอเมืองปาน
สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง
แหล่งข้อมูล ศรีเลา เกษพรหม. ประเพณีชีวิต คนเมือง. เชียงใหม่: ร.พ.นพบุรี, ๒๕๔๔.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น