- สิ่งของที่จะประเคนต้องไม่ใหญ่โตหรือหนักเกินไปพอคนขนาดปานกลางคนเดียวยกได้และต้องยกสิ่งของนั้นสูงพ้นจากพื้นที่สิ่งของนั้นตั้งอยู่
- ผู้ประเคนต้องเข้ามาอยู่ในหัตถบาส หรือเหยียดแขนออกไปจับสิ่งของได้ อยู่ห่างจากพระภิกษุผู้รับประเคน ประมาณ ๑ ศอก หรือ ๖๐ เซนติเมตร
- ผู้ประเคนน้อมสิ่งของนั้นเข้ามาให้ด้วยความเต็มใจ และเคารพต่อพระภิกษุผู้รับประเคน
- ผู้ประเคนถ้าเป็นชาย ให้ส่งสิ่งของถึงมือพระภิกษุ ผู้ประเคนถ้าเป็นหญิงให้วางสิ่งของถวายบนผ้าที่พระภิกษุทอดรับ
- ถ้าพระภิกษุนั่งอยู่กับพื้น ผู้ประเคนนิยมนั่งคุกเข่าประเคน ถ้าพระภิกษุนั่งเก้าอี้ ผู้ประเคนนิยมยืนประเคน
- ภัตตาหารคาวหวานทุกชนิด ที่ประเคนพระภิกษุสงฆ์แล้ว ถ้าคฤหัสถ์ไปจับต้องอีก ต้องยกประเคนใหม่อีกทุกครั้งไป
- ในการถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์นั้น ให้ประเคนเฉพาะสิ่งของที่จะพึงฉันเท่านั้น ส่วนเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น กระโถน ชาม จาน ช้อน กระดาษ เพียงแต่วางมอบให้ก็พอ
- เมื่อประเคนเรียบร้อยแล้วทำความเคารพพระภิกษุสงฆ์ด้วยการกราบ ๓ ครั้ง หรือไหว้ ๑ ครั้ง จึงเสร็จพิธีประเคนพระ
----------------------------------------------
นางสุภาภรณ์ เรือนหล้า
นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ ปฏิบัติราชการประจำ
สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอเถิน
วันเสาร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2553
การประเคนของถวายพระสงฆ์
การยกสิ่งของอันสมควรแก่สมณบริโภคใช้สอยุวายให้แก่ประสงฆ์โดยส่งให้ถึงมือเรียกว่า การประเคน มีวิธีปฏิบัติ ดังนี้
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น