1. ชาร้อนๆ จะทำให้สารที่เป็นประโยชน์ คือ “คาเทคชินส์” ถูกความร้อนทำลายไปเกือบหมด คงเหลือแต่ความหอมและรสชาติ ถ้าต้องการให้ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพและยังนิยมชาร้อนๆ ควรดื่มน้ำชาที่เข้มข้น
2. ชาเขียวหรือสารสกัดจากใบชาสด หากนำมาเตรียมเป็นเครื่องดื่มแช่เย็น ความเย็นจะช่วยรักษาคุณค่าของสาระสำคัญในใบชาไว้ได้ดี แต่หากผ่านการทำให้ร้อนปริมาณสำคัญในน้ำชาก็จะถูกทำลายเช่นกัน
3. ชาร้อน หรือชาเย็น ไม่ควรแต่งรสด้วยนมทุกชนิด เพราะโปรตีนในนมจะไปจับกับสาระสำคัญในชา และทำลายประสิทธิภาพของสารออกฤทธิ์ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
4. ผู้รับประทานวิตามินเสริม เช่น ธาตุเหล็ก เกลือแร่ หรือยาที่คล้ายคลึงกัน ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำชาร่วมไปด้วยเพราะสาระสำคัญจากใบชาจะไปตกตะกอนธาตุเหล็กหรือเกลือแร่ไม่ให้ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย
5. โทษของการดื่มชาต่อร่างกายก็มีเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารสำคัญคือ “แทนนิน” จะไปตกตะกอนโปรตีนและแร่ธาตุต่างๆ จากอาหารที่รับประทาน ทำให้ลดการดูดซึมของสารอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกาย จึงมีคำแนะนำไม่ให้เด็กดื่มน้ำชาไม่ว่าจะเป็นชาเขียวแช่เย็นหรือชาร้อน เพราะจะทำให้ขาดสารอาหาร
6. ใบชายังมีองค์ประกอบที่ให้โทษต่อร่างกายที่ยังไม่ค่อยมีคนกล่าวถึง คือ มีฟลูออไรด์ในปริมาณค่อนข้างสูงทำให้เกิดการสะสม มีผลให้ไตวาย เกิดมะเร็งลำไส้ โรคกระดูกพรุน โรคข้อ และอื่นๆ ที่เกี่ยวกับกระดูก แต่ถ้าดื่มไม่มากก็ไม่ต้องกังวล
7. ใบชามีสารที่ชื่อว่า “ออกซาเลท” แม้จะมีอยู่น้อย แต่หากดื่มชามากๆ และดื่มบ่อยๆ เป็นประจำ สารนี้จะสะสมในร่างกาย เป็นอันตรายต่อไต
8. ใบชามีสารกาเฟอีนสูง อาจสูงกว่ากาแฟด้วยซ้ำ เพียงแต่การดื่มน้ำชา สารแทนนินจากชาจะป้องกันหรือลดการดูดซึมของกาเฟอีนเข้าสู่ร่างกาย ทำให้ฤทธิ์การกระตุ้นหัวใจและสมองน้อยกว่ากาแฟมากเพราะฉะนั้น เราจึงควรดื่มชาในปริมาณพอดีๆ
โดย นางสาวเสาวภาคย์ คงแสง นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
ที่มา :เว็บไซต์ http://www.vcharkarn.com
โดย นางสาวเสาวภาคย์ คงแสง นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
ที่มา :เว็บไซต์ http://www.vcharkarn.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น