วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การวินิจฉัยโรคจากเล็บ

เนื่องจากเล็บมีการเจริญเติบโตตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้เล็บจึงสามารถบันทึกร่องรอยของโรคบนผิวเล็บโดยทั่วไปเล็บที่แสดงอาการโรค สามารถบ่งบอกโรคเกี่ยวกับระบบการหายใจ ระบบการไหลเวียนของเลือด ระบบประสาท ความผิดปกติของกระดูกสันหลังตลอดจนอาการขาดธาตุอาหาร
การวินิจฉัยโรคจากเล็บนั้น โดยทั่วไปแล้วพึงระมัดระวังสิ่งต่อไปนี้
๑. สีของเล็บ โดยทั่วไปเล็บของผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงมักมีสีแดงเรื่อ ๆ (ไม่มีการทาเล็บ) ถ้าร่างกายอ่อนแอ ขาดอาหาร เล็บมักซีดไม่มีสีเลือด สำหรับผู้ที่ได้รับกระทบกระเทือนภายใน นอกจากเนื้อเล็บมีการเปลี่ยนแปลงแล้ว สีของเล็บมักเหลือง หรือม่วง หรือดำ เป็นต้น ผู้ที่ใกล้ตายปลายเล็บมักมีสีม่วง หรือดำ ปรากฏให้เห็น
๒. ความอ่อนและแข็งของเล็บ โดยทั่วไปเล็บที่มีความยืดหยุ่นมักบ่งบอกถึงความแข็งแรงของสุข-ภาพ ถ้าเล็บแข็งและหักง่าย มักเกิดจากโรคขาดอาหาร ถ้าเล็บบางและอ่อน แสดงว่าขาดแคลเซียม มักเป็นโรคเกี่ยวกับประสาท และโรคเรื้อรังต่าง ๆ และเป็นผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ
๓. เล็บเป็นจุดขาวกระจายทั่วเล็บ แสดงให้เห็นว่าร่างกายขาดธาตุแคลเซียม ซิลิคอน หรือมีตัวพยาธิ หรือเหนื่อยง่าย หรือท้องผูกเรื้อรัง เป็นต้น นอกจากนี้การกินยาบางชนิด หรือพิษที่เกิดจากนิโคตินจะทำให้เล็บเป็นจุดขาวได้
๔. เนื้อเล็บสีขาวรูปครึ่งวงกลมบริเวณโคนเล็บ คนที่มีร่างกายปกติ เนื้อเล็บสีขาวรูปครึ่งวงกลมนี้สูงเป็น ของเล็บนิ้วแต่ละนิ้ว เนื้อเล็บสีขาวรูปครึ่งวงกลมดังกล่าวจะบ่งบอกถึงความแข็งแรงของร่างกาย โดยเฉพาะสมรรถนะของระบบหัวใจ และหลอดเลือด ถ้านิ้วของมือทั้งสองข้าง มีเนื้อเล็บสีขาวรูปครึ่งวงกลมทุกเล็บ และความสูงของเนื้อเล็บสีขาวรูปครึ่งวงกลมมีอัตราส่วนดังกล่าว แสดงว่าเป็นผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง ถ้าเนื้อเล็บสีขาวรูปครึ่งวงกลมใหญ่เกินอัตราส่วนของคนปกติ แสดงว่าเป็นผู้ที่มีความดันเลือดค่อนข้างสูง หรือเป็นอัมพาต ถ้าทั้งสิบนิ้วไม่มีเนื้อเล็บสีขาวครึ่งวงกลมบริเวณโคนเล็บ แสดงว่าเป็นผู้ที่มีร่างกายไม่แข็งแรง เป็นโรคโลหิตจาง ความดันเลือดต่ำ สำหรับผู้ที่เนื้อเล็บสีขาวรูปครึ่งวงกลมเล็กและไม่ชัดเจน มักเป็นโรคเกี่ยวกับปอดอักเสบ หืดหอบ กระเพาะอาหารเป็นแผลสรุป เนื้อเล็บสีขาวรูปครึ่งวงกลมบริเวณโคนเล็บถ้ามีพื้นที่ใหญ่ หรือเล็กกว่าปกติ เป็นสิ่งที่จะสะท้อนให้เห็นถึงความผิดปกติของร่างกาย
โดย อุดม อนุพันธิกุล นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ

ที่มา : นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่ม : ๑๙๓ เดือน-ปี : ๐๕/๒๕๓๘ คอลัมน์ : การแพทย์ตะวันออก
นักเขียนหมอชาวบ้าน : วิทิต วัณนาวิบูล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น