เนื่องจากตำบล สันดอนแก้วมีภูมิประเทศที่เป็นป่าเขาจึงทำให้มีป่าไม้ไผ่และต้นหวายจำนวนมากจึงทำให้ชาวบ้านได้นำไผ่และต้นหวายที่มีมากมาใช้ประโยชน์ ซึ่งภูมิปัญญาการจักสานจากหวายและไม้ไผ่ได้รับการส่งต่อสืบทอดมาจนถึง นายทา ศรีธิ ซึ่งปัจจุบันมีอายุ ๗๘ ปี ได้สืบทอดภูมิปัญญาการจักสานจากหวายและไม้ไผ่มาตั้งแต่อายุได้ ๘-๙ ปี โดยมีพ่อเป็นผู้ฝึกสอนและถ่ายทอดมาให้
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากหวายและไม้ไผ่ที่น่าสนใจคือ หวดไม้ไผ่ ที่ใช้สำหรับรองรับข้าวเหนียวก่อนจะนำไปล้าง เพื่อทำการนึ่งต่อไป ซึ่งคนทางเหนือต้องมีติดครัวไว้ทุกบ้าน นอกจากนี้ยังมีตะกร้าที่ทำจากหวายเพื่อใช้ใส่สิ่งของสารพัดประโยชน์หรือทำเป็นกระเช้าของขวัญก็ได้ หรือจะเป็นพานรองใส่ดอกไม้ธูปเทียนเพื่อถวายวัด ล้วนได้มาจากหวายและไม้ไผ่ทั้งสิ้น
เพื่อให้คนรุ่นหลังเห็นความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่บรรพบุรุษได้ถ่ายทอดจึงเห็นว่าเครื่องจักสานจากหวายและไม้ไผ่สมควรเป็นแหล่งเรียนรู้ ของศูนย์การเรียนรู้ชุมชนสันดอนแก้ว เพื่อผู้ที่สนใจได้ศึกษาหาข้อมูลต่อไป
งานจักสาน
๑. ภูมิปัญญาการจักสานหวายและไม้ไผ่
๒. การสืบสานภูมิปัญญาการจักสานหวายและไม้ไผ่
๓. สามารถนำไปประกอบอาชีพและสร้างรายได้
โดย สุนันทา เจียมเงิน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ
ที่มา : นายทา ศรีธิ บ้านเลขที่ ๕๑/๒ หมู่ที่ ๑ บ้านสันดอนแก้ว ตำบลสันดอนแก้ว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น