วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

เล่าขานตำนานอำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง (ฉบับที่ ๒)

ว่าด้วยชื่อ “ฮ่างสัต” ชื่อเก่าของอำเภอห้างฉัตร
""""""""คำว่า ฮ่างสัต เป็นสำเนียงของคนในท้องถิ่น หมายถึงร่างทั้งเจ็ด ชื่อที่ปรากฏในจารึกแผ่นเงินของเจ้าอารักษ์ขุนตาลดังกล่าวข้างต้นก็ดี ในตำนานเจ้าเจ็ดองค์ก็ดี ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ก็ดี เขียนด้วยคำว่า “ร่างสัต” ไว้หลายแห่ง เป็นชื่อที่ออกเสียงตรงกับวิธีเขียนว่า “ห้างสัตย์” ก็ได้ แต่ในสมัยหนึ่งเริ่มยกฐานะตำบลดังกล่าวเป็นที่ตั้งอำเภอ ได้เขียนชื่ออำเภอนี้ว่า อำเภอหางสัตว์ รวมทั้งตั้งชื่อสถานีรถไฟหางสัตว์ก็ได้เกิดขึ้นในระยะนั้น โดยที่ประวัติเกี่ยวกับความหมายของชื่อฮ่างสัตดังกล่าว ไม่สู้จะแพร่หลาย จึงได้มีการเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนชื่ออำเภอดังกล่าว ผู้ประสงค์จะเปลี่ยนชื่อในระยะนั้นไม่อาจจะตีความคำว่า “หางสัตว์” ได้ เพราะสำเนียงเรียกกันแล้วคนในท้องถิ่นบางหมู่บ้าน ก็เรียก “ฮ่างสัต” โดยออกเสียงพยางค์ต้นยาวมีเสียงจัตวากล้ำไว้ด้วยดังนี้
""""""""“ฮ๋-างสัต” ซึ่งตรงกับวิธีสะกดด้วยตัวอักษรว่า “หางสัตว์” ได้ตามสำเนียงเรียก มีนิทานประกอบการตั้งชื่อในครั้งนั้นว่า ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระนางจามเทวีนำฉัตรซึ่งบรรทุกบนหลังช้างแต่หริภุญไชย หยุดประกอบองค์ฉัตรที่ตำบลดังกล่าวเพื่อจะนำไปประดิษฐานไว้เหนือพระธาตุเจดีย์ลำปางหลวง การประกอบของสูงที่ต้องปีนป่ายนั้นเป็นคำกิริยาเรียกว่า “ห้าง” พร้อมเสนอว่า เป็นเรื่องราวของพระนางจามเทวีห้างฉัตรที่ตำบลซึ่งเรียกกันว่า “หางสัตว์”
เกี่ยวกับคำว่า “ร่างสัต” หมายถึง ร่างทั้ง ๗ หมายถึงผู้ใดนั้น ผู้เขียนได้ค้นพบสิ่งที่พึงให้ความหมายได้ ๒ นัยคือ จากการสอบประวัตและรายชื่อ เจ้าพ่อที่ชาวบ้านนับถือประจำหออารักษ์ขุนตาลในอำเภอห้าฉัตร ถือว่า มีเจ้าพ่ออยู่ ๗ ตน รายชื่อดังนี้
๑. เจ้าพระบาทขลางคำ (เจ้าพ่อเขลางค์)
๒. เจ้าฟ้าเขียว
๓. เจ้าเปลวปล่องฟ้า
๔. เจ้าข้อมือเหล็ก
๕. เจ้าพละพื่ก (เจ้าพละ คือพระยาพละราชแห่งพละนคร คือเมืองแพร่ พื่กเป็นคำโบราณปรากฏใช้แต่จารึกกฎหมายเมงราย แปลว่าหลีก) เจ้าพละพื่กหมายถึง เจ้าพละราชแพ่งพละนคร ได้หลีกจาการที่จะพยายามขุดเอาพระธาตุของวัดลำปางหลวงไปจากเมืองลำปาง
๖. เจ้าหาญกวาด
๗. เจ้าหาญเจ็ดเตี่ยว คำว่าเตี่ยว หมายถึงกางเกง เจ้าหาญเจ็ดเตี่ยวจึงหมายถึงเจ้าหาญ ๗ ตนซึ่งนุ่งกางเกง (สมัยพะม่าปกครอง ทหารนุ่งโสร่ง) อันหมายถึงเจ้าหาญที่มิใช่พะม่า

เอกสารอ้างอิงจาก หนังสือเมืองโบราณในนครลำปาง โดยศักดิ์ รัตนชัย
โดย ดวงสมร ขอบคำ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น