วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

การถวายทานเพื่อความสิริมงคล แก่ตน

การทำบุญสร้างกุศลเพื่อความสุขความเจริญ รวมทั้งการทำบุญเพื่อความสุขกายสบายใจ เมื่อรู้สึกว่าโชคไม่ดีมีเคราะห์ หรือมีสิ่งทำให้ไม่สบายกายและใจที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น มีสิ่งไม่เหมาะไม่ควรประดับเข้ามา วิถีชีวิตไทยชาวพุทธจะทำบุญทำกุศล อุทิศผลบุญกุศลให้เทวดาอารักษ์ เจ้ากรรมนายเวร ผู้มีพระคุณทั้งหลายและตนเอง เพื่อให้วิถีชีวิตร่มเย็นเป็นสุข นิยมทำบุญ ถวายสังฆทาน
หลักการถวายทาย มีหลักสำคัญ ๒ ประการ คือ ต้องตั้งใจถวายเป็นสงฆ์จริงไม่เห็นแก่หน้าบุคคลผู้รับว่าเป็นภิกษุสามเณรรูปใด จะเป็นพระสังฆ์เถระหรือเป็นพระอันดับ ฉะนั้นเวลานิมนต์พระให้กล่าวขอนิมนต์พระ ๔ รูป หรือกี่รูปโดยไม่เน้นว่าเป็นรูปใด ประการที่ ๒ ของที่ถวายควรเป็นทานวัตถุ ๑๐ ประการ จะมีกี่อย่างก็ได้ เช่น ข้าว,กับข้าว , น้ำ , เครื่องดื่มอันสมควรแก่สมณะบริโภค ,ดอกไม้ ,
ธูป , เทียน , ของใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน , ใบมีดโกน โกนหนวด โกนผม พร้อมด้าม , ของใช้ทำความสะอาดห้องน้ำ กุฏิพวกน้ำยา สบู่เหลว ฟองน้ำ สบง อังสะ หรือจีวร หรือผ้าเช็ดตัว
การถวายสังฆทานเพื่อความเป็นสิริมงคล เริ่มต้นด้วยการจุดธูป เทียน บูชาพระรัตนตรัย กล่าวคำสักการะสวดบูชาพระรัตนตรัย , อาราธนาศีลและรับศีล ถ้ามีการเจริญพระพุทธมนต์ ให้อาราธนาพระปริตร เมื่อพระเจริญพระพุทธนมนต์จบแล้วให้ กล่าวคำถวายสังฆทาน ดังนี้
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
อิมานิ มะยัง ภันเต , ภัตตานิ สัปปริวารานิ , ภิกขุสังฆัสสะ , โอโนชยามะ , สาธุ โน ภันเต , ภิกขุสังโฆ ,
อิมานิ , ภัตตานิ , สะปริวารานิ , ปฏิคคันหาตุ , อัมหากัง , ทีฆะรัตตัง , หิตายะ , สุขายะ
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ , ข้าพเจ้าทั้งหลาย , ขอน้อมถวาย , ซึ่งภัตตาหาร , พร้อมกับทั้งบริวารเหล่านี้ , แด่พระภิกษุสงฆ์ , ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ , ซึ่งภัตตาหาร , พร้อมกับทั้งบริวารเหล่านี้ , ของข้าพเจ้าทั้งหลายเพื่อประโยชน์ , เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย , สิ้นกาลนานเทอญ.

สุภาภรณ์ เรือนหล้า นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น