วันอังคารที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553

สมุนไพรไทยกับลูกน้อยของคุณ

1. หัวหอม หรือหอมแดง สรรพคุณ เป็นพืชที่มีกลิ่นฉุน และรสเผ็ดร้อน ช่วยขับลมและทำให้ร่างกายอบอุ่น (เป็นน้ำมันหอมระเหยชนิดหนึ่ง) บรรเทาอาการ หวัด คัดจมูก หรือหายใจไม่สะดวกเนื่องจากหวัดวิธีการใช้ ทุบหอมแดงประมาณ 2-3 หัว ห่อด้วยผ้าแล้วนำไปวางใกล้หมอนเวลานอนหรือนำมาต้มกับน้ำ แล้วรมไอให้ลูกน้อยได้สูดดม แต่มีข้อควรระวังก็คือ อย่าให้เข้าตา หรือถูกผิวหนังลูกค่ะ
2. ดอกกานพลู สรรพคุณ มีกลิ่นหอมฉุนและรสเผ็ดร้อน เป็นยาขับลม บรรเทาอาการ ท้องอืด ท้องเฟ้อ วิธีการใช้ ใช้ดอกกานพลูประมาณ 2-3 ดอก ใส่ในน้ำร้อนนำมาชงนมให้ลูก
3. ขมิ้นชัน สรรพคุณ มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ลดการอักเสบตามผิวหนัง บรรเทาอาการ ผดผื่นคันตามร่างกาย วิธีการใช้ นำขมิ้นชันสดมาฝนให้ได้เนื้อขมิ้นเล็กน้อย ผสมกับดินสอพองทาบริเวณที่เป็นหรืออาจจะใช้ผงขมิ้นผสมน้ำต้มสุกทาบ่อยๆ บริเวณที่เป็น
4. ใบพลูหรือใบตำลึง สรรพคุณ มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา บรรเทาอาการ ผื่นคันเนื่องจากเกิดลมพิษ วิธีการใช้ นำใบพลูหรือใบตำลึงประมาณกำมือหนึ่ง ล้างให้สะอาด จากนั้นบดหยาบผสมดินสอพองหรือข้าวสารเล็กน้อยก็ได้ แล้วนำมาทาแก้ผื่น
5. ดินสอพอง คุณสมบัติ เป็นตัวยาที่มีความเย็น ใช้แก้พิษร้อนกับร่างกาย สมัยโบราณนิยมใช้ทำแป้งประร่างกาย เพื่อให้เย็นสบาย บรรเทาอาการ ผื่นคันตามผิวหนัง ช่วยปรับสภาพผิวให้ดีขึ้น วิธีการใช้ ใช้ดินสอพองที่สะตุแล้ว ผสมน้ำนิดหน่อยทาบริเวณที่เกิดอาการ การสะตุดินสอพอง คือ การทำดินสอพองให้สะอาดและเป็นการฆ่าเชื้อโรคด้วย ทำได้โดย นำดินสอพองที่เป็นก้อนมาบดเป็นผงให้ละเอียด ใส่ในหม้อดินแล้วตั้งไฟให้ร้อน ยกลง รอให้ดินสอพองเย็น แล้วมักจะใส่ผงขมิ้นชัน เรียกว่า ดินสอพองสะตุ
6. ว่านหางจระเข้ สรรพคุณ น้ำเมือกของว่านหางจระเข้ มีคุณสมบัติเป็นยาเย็น สามารถต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย บรรเทาอาการ รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก จะช่วยลดอาการแสบร้อน สมานแผลให้ดีขึ้น วิธีการใช้ ปอกเปลือกเอาเฉพาะวุ้น ขูดให้เป็นน้ำเมือก ทาบริเวณที่เป็นแผล ควรระวัง เปลือกว่านหางจระเข้จะมียางสีเหลืองซึ่งจะระคายเคืองผิวหนัง
7. พญายอ สรรพคุณ มีฤทธิ์ลดการอักเสบ ระงับการเติบโตของเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก บรรเทาอาการ แผลในปาก เริม และแมลงกัดต่อย วิธีการใช้ นำส่วนใบมาขยี้ให้น้ำยาออกมา แล้วค่อยนำไปทาบริเวณที่เป็นบ่อยๆ8. เปลือกต้นแค สรรพคุณ เป็นสมุนไพรรสฝาด ที่ยับยั้งการเติบโตของแบคทีเรีย บรรเทาอาการ ท้องร่วง และช่วยสมานแผล วิธีการใช้ ใช้เปลือกต้นแคฝนให้ยุ่ย นำไปป้ายบริเวณที่เป็นแผล หรือนำเปลือกต้นแคมาต้มให้ได้น้ำยาเข้มข้นแล้วใช้ป้ายหรือทาบริเวณที่เป็นแผล
8. ประคำดีควาย สรรพคุณ มีสารสำคัญ (Saponin) ที่ทำให้เกิดฟอง บรรเทาอาการ ชันตุ พุพองตามหนังศีรษะหรือผิวหนัง วิธีการใช้ ใช้ผลแก่ 4-5 ผล ทุบพอแตกมาต้มเอาแต่น้ำประมาณ 1 ถ้วย ทาผิวหนังบริเวณที่เป็น เช้า–เย็น หรือนำมาแกะเอาแต่เนื้อ ตีกับน้ำจนเป็นฟองใช้สระผมเด็กจนกว่าจะหายค่ะ และไม่ควรให้เข้าตาจะทำให้แสบตา
9. กะเพรา สรรพคุณ เป็นพืชรสเผ็ดร้อน ช่วยยับยั้งเชื้อราที่ผิวหนัง บรรเทาอาการ เกลื้อนน้ำนมวิธีการใช้ นำใบกะเพรา (มักใช้กะเพราแดง) มาขยี้ และทาบริเวณที่เป็นเกลื้อน วันละ 3 - 4 ครั้ง จนกว่าจะหายก่อนเลือกใช้สมุนไพร คุณแม่ต้องรู้อาการของลูกก่อนว่า เป็นอาการร้ายแรงหรือเกิดจากโรคประจำตัว ที่ต้องระมัดระวังหรือไม่ เพื่อดูแลอาการได้เหมาะสม ไม่เกิดผลข้างเคียง บางอาการเจ็บป่วย ที่ต้องใช้สมุนไพรดูแล เช่น มีเสมหะ จำเป็นต้องกวาดยา ก็ควรเน้นให้ความสำคัญกับเรื่องความสะอาดด้วยค่ะ เช่น ล้างมือก่อนกวาด หรือทายาในช่องปาก เป็นต้น
โดย สุพัชรีย์ เป็งอินตา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น