ประวัติการแกะสลัก
.........ชาวอำเภอแม่ทะโดยเฉพาะอย่างยิ่งหมู่บ้านน้ำโท้ง บ้านหลุก บ้านหลุกแพะ และบ้านเหมี่ยง ตำบลนาครัวมีฝีมือในการแกะสลักไม่มาแต่โบราณ สังเกตได้จากเครื่องใช้ในครัวเรือน เช่น ขันโตก ด้ามกระบวยตักน้ำ ลูกกรง ราวบันได รวมไปถึงไม้ค้ำต้นโพธิ์ ซึ่งสามารถพบเห็นทั่วไปตามวัดในหมู่บ้านต่าง ๆ ดังกล่าว เมชาวบ้านไม่ได้ยึดงานแกะสลักเป็นอาชีพ โดยมุ่งแต่การประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก จนเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๖ พ่อค้าจากตัวเมืองลำปางได้นำดอกบัวขนาดเล็กแกะสลักด้วยไม้ทองหลางเป็นแบบให้ นายดี เถายศ ใช้ไม้โมกมันแกะสลักดอกบัวแทนได้มีการปรับปรุงรูปทรงให้ใหญ่ขึ้นกว่าที่กำหนดให้มา โดยทำออกจำหน่ายตามใบสั่งของพ่อค้า ในขณะนั้นสามารถทำรายได้ดีพอสมควรภายหลังชาวบ้านสนใจออกแบบกันอย่างแพร่หลาย
.........ต่อมานายสุขแก้ว คำพิชัย ชาวบ้านน้ำโท้ง ซึ่งเป็นผู้ที่สนใจงานแกะสลักมาตั้งแต่ครั้งยังบวชเป็นสามเณร ครั้งพอสึกออกมา ก็พยายามลองแกะสลักดอกบัว โดยได้ปรับปรุงดอกบัวที่เคยทำแพร่หลาย แล้วนำมาแกะเป็นรูปดอกบัวกลีบซ้อน แกะด้วยไม้สัก ซึ่งได้รับความนิยมมาก จนเมื่อไม้สักหายากราคาแพงขึ้นจึงหันมาใช้ไม้จามจุรี หรือไม้ฉำฉาแทน ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง ความนิยมการแกะสลักยังนิยมแพร่หลาย ทั้งยังขยายตลาดไปยังต่างประเทศทำรายได้ดีขึ้น ชาวบ้านที่เคยว่างงานในฤดูแล้ง กลับมีงานทำมีรายได้เสริมแก่ครอบครัวเป็นกอบเป็นกำ
.........ในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ พบว่ามีการกลึงไม้ในหมู่บ้านตำบลนาครัว แต่เป็นการเคี่ยนหรือกลึงโดยใช้เครื่องกลึงแบบใช้แรงคนถีบให้ไม้หมุน ในสมัยนั้นนิยมกลึงขันน้ำ พานรอง ขันโตก หม้อน้ำ จนถึง พ.ศ. ๒๕๑๒ มีไฟฟ้าเข้าหมู่บ้าน จึงเปลี่ยนจากการใช้แรงคนมาเป็นมอเตอร์ไฟฟ้า ทำให้ผลิตงานได้มากขึ้น จนกลายเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน
.........ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ นายจันทร์ดี แก้วชุ่ม ส่งงานแกะสลักไม้ เข้าประกวดในงานประกวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไทย ซึ่งจัดโดยกรมส่งเสริมอุสาหกรรม ได้รับรางวัลชนะเลิศเป็นการเผยแพร่งานแกะสลักไม้ให้เป็นที่นิยมมากขึ้น การทำงานในระยะแรกของนายจันทร์ดี แก้วชุ่ม เป็นการทำงานคนเดียว สร้างปางแกะสลักไม้อยู่ภายในบริเวณรั้วบ้านข้างวัดบ้านหลุก
.........ต่อมามีชาวบ้านมารับจ้างทำบางคนสนใจมากมาขอฝึกหัดด้วยนายจันทร์ดียินดีสอนให้เปล่าโดยไม่คิดค่าจ้างพอศิษย์รุ่นแรกจบพอแกะสลักไม้เองได้ก็ไปสอนลูกหลานต่อไป ปี พ.ศ.๒๕๑๖ นายเมืองตื่น แก้วเทียม เป็นผู้แกะสลักรูปช้างเป็นตัวแรกของอำเภอแม่ทะ โดยแกะเป็นรูปช้างยืนบนแท่นไม้ฐานะทางเศรษฐกิจของชาวบ้านหลุกดีขึ้น ประกอบกับมีจำนวนประชากรที่ย้ายมาจากถิ่นอื่น เข้ามาอยู่ภายในหมู่บ้านหลุกเพิ่มขึ้น ทางราชการจึงแบ่งหมู่บ้านหลุกออกเป็น ๒ หมู่บ้าน โดยหมู่บ้านตอนบนให้ชื่อว่าบ้านหลุกแพะส่วนบ้านหลุกตอนล่างยังคงใช้ชื่อเดิม
สิ่งที่น่าสนใจศึกษาและเรียนรู้
รูปแบบของผลิตภัณฑ์
ลักษณะของผลิตภัณฑ์ไม้แกะสลัก บ้านหลุกที่ทำกันในปัจจุบันอาจจำแนกตามรูปแบบได้ ๕ ลักษณะดังนี้
1. ภาพนูนสูงเป็นการแกะสลักภาพในนูนสูงขึ้นมาเกือบเต็มตัวมีความละเอียดของรูปมากกว่าแบบนูนต่ำใช้แกะสลักลวดลายประประกอบงานทั่วไป งานแกะชนิดนี้ จึงต้องให้เกิดความงามทั้งด้านหน้าและส่วนที่เป็นด้านข้างงานแกะภาพนูนสูง คืองานแกะหัวสัตว์ หัวช้างไทย หัวช้างแอฟริกา ฯลฯ
2. ภาพลอยตัว เป็นการแกะสลักไม้ที่มองเห็นได้รอบด้านมักแก้เป็นพระพุทธรูป รูปคน รูปสัตว์หรือรูปตามคตินิยม ฯลฯ งานแกะสลักภาพลอยตัว เช่นแกะสลักรูปช้างไทย ช้างแอฟริกา สิงโต ม้า ฯลฯ
3. งานกลึง เป็นงานขึ้นรูปชิ้นงานด้วยเครื่องกลึงแทนที่จะเป็นสิ่ว และค้อน ผิวงานจะเป็นวงกลมหรือทรงกระบอก ได้แก่ ครก ฉาก ลูกกรงบันได ฐานฉัตรทอง แจกัน
4. แกะสลักแล้วประกอบ เป็นงานที่ชิ้นส่วนหลายชิ้นมาประกอบกัน ส่วนใหญ่จะมีเถาวัลย์เป็นส่วนประกอบด้วย งานลักษณะนี้ได้แก่ นก กระถางดอกไม้ ตระกร้าเถาวัลย์ ดอกทิวลิป รถชอปเปอร์
5. งานฉลุการวาดภาพลงบนแผ่นไม้ แล้วใช้ใบเลื่อย เลื่อยตามลวดลายที่วาดไว้เพื่อตัดไม้ในส่วนที่ไม่ต้องการออก เช่น เชิงชาย น้ำย้อย
สถานที่ตั้ง
บ้านหลุกหมู่ที่ ๖ , ๑๑ , ๑๒ ตำบลนาครัว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
.........ชาวอำเภอแม่ทะโดยเฉพาะอย่างยิ่งหมู่บ้านน้ำโท้ง บ้านหลุก บ้านหลุกแพะ และบ้านเหมี่ยง ตำบลนาครัวมีฝีมือในการแกะสลักไม่มาแต่โบราณ สังเกตได้จากเครื่องใช้ในครัวเรือน เช่น ขันโตก ด้ามกระบวยตักน้ำ ลูกกรง ราวบันได รวมไปถึงไม้ค้ำต้นโพธิ์ ซึ่งสามารถพบเห็นทั่วไปตามวัดในหมู่บ้านต่าง ๆ ดังกล่าว เมชาวบ้านไม่ได้ยึดงานแกะสลักเป็นอาชีพ โดยมุ่งแต่การประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก จนเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๖ พ่อค้าจากตัวเมืองลำปางได้นำดอกบัวขนาดเล็กแกะสลักด้วยไม้ทองหลางเป็นแบบให้ นายดี เถายศ ใช้ไม้โมกมันแกะสลักดอกบัวแทนได้มีการปรับปรุงรูปทรงให้ใหญ่ขึ้นกว่าที่กำหนดให้มา โดยทำออกจำหน่ายตามใบสั่งของพ่อค้า ในขณะนั้นสามารถทำรายได้ดีพอสมควรภายหลังชาวบ้านสนใจออกแบบกันอย่างแพร่หลาย
.........ต่อมานายสุขแก้ว คำพิชัย ชาวบ้านน้ำโท้ง ซึ่งเป็นผู้ที่สนใจงานแกะสลักมาตั้งแต่ครั้งยังบวชเป็นสามเณร ครั้งพอสึกออกมา ก็พยายามลองแกะสลักดอกบัว โดยได้ปรับปรุงดอกบัวที่เคยทำแพร่หลาย แล้วนำมาแกะเป็นรูปดอกบัวกลีบซ้อน แกะด้วยไม้สัก ซึ่งได้รับความนิยมมาก จนเมื่อไม้สักหายากราคาแพงขึ้นจึงหันมาใช้ไม้จามจุรี หรือไม้ฉำฉาแทน ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง ความนิยมการแกะสลักยังนิยมแพร่หลาย ทั้งยังขยายตลาดไปยังต่างประเทศทำรายได้ดีขึ้น ชาวบ้านที่เคยว่างงานในฤดูแล้ง กลับมีงานทำมีรายได้เสริมแก่ครอบครัวเป็นกอบเป็นกำ
.........ในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ พบว่ามีการกลึงไม้ในหมู่บ้านตำบลนาครัว แต่เป็นการเคี่ยนหรือกลึงโดยใช้เครื่องกลึงแบบใช้แรงคนถีบให้ไม้หมุน ในสมัยนั้นนิยมกลึงขันน้ำ พานรอง ขันโตก หม้อน้ำ จนถึง พ.ศ. ๒๕๑๒ มีไฟฟ้าเข้าหมู่บ้าน จึงเปลี่ยนจากการใช้แรงคนมาเป็นมอเตอร์ไฟฟ้า ทำให้ผลิตงานได้มากขึ้น จนกลายเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน
.........ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ นายจันทร์ดี แก้วชุ่ม ส่งงานแกะสลักไม้ เข้าประกวดในงานประกวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไทย ซึ่งจัดโดยกรมส่งเสริมอุสาหกรรม ได้รับรางวัลชนะเลิศเป็นการเผยแพร่งานแกะสลักไม้ให้เป็นที่นิยมมากขึ้น การทำงานในระยะแรกของนายจันทร์ดี แก้วชุ่ม เป็นการทำงานคนเดียว สร้างปางแกะสลักไม้อยู่ภายในบริเวณรั้วบ้านข้างวัดบ้านหลุก
.........ต่อมามีชาวบ้านมารับจ้างทำบางคนสนใจมากมาขอฝึกหัดด้วยนายจันทร์ดียินดีสอนให้เปล่าโดยไม่คิดค่าจ้างพอศิษย์รุ่นแรกจบพอแกะสลักไม้เองได้ก็ไปสอนลูกหลานต่อไป ปี พ.ศ.๒๕๑๖ นายเมืองตื่น แก้วเทียม เป็นผู้แกะสลักรูปช้างเป็นตัวแรกของอำเภอแม่ทะ โดยแกะเป็นรูปช้างยืนบนแท่นไม้ฐานะทางเศรษฐกิจของชาวบ้านหลุกดีขึ้น ประกอบกับมีจำนวนประชากรที่ย้ายมาจากถิ่นอื่น เข้ามาอยู่ภายในหมู่บ้านหลุกเพิ่มขึ้น ทางราชการจึงแบ่งหมู่บ้านหลุกออกเป็น ๒ หมู่บ้าน โดยหมู่บ้านตอนบนให้ชื่อว่าบ้านหลุกแพะส่วนบ้านหลุกตอนล่างยังคงใช้ชื่อเดิม
สิ่งที่น่าสนใจศึกษาและเรียนรู้
รูปแบบของผลิตภัณฑ์
ลักษณะของผลิตภัณฑ์ไม้แกะสลัก บ้านหลุกที่ทำกันในปัจจุบันอาจจำแนกตามรูปแบบได้ ๕ ลักษณะดังนี้
1. ภาพนูนสูงเป็นการแกะสลักภาพในนูนสูงขึ้นมาเกือบเต็มตัวมีความละเอียดของรูปมากกว่าแบบนูนต่ำใช้แกะสลักลวดลายประประกอบงานทั่วไป งานแกะชนิดนี้ จึงต้องให้เกิดความงามทั้งด้านหน้าและส่วนที่เป็นด้านข้างงานแกะภาพนูนสูง คืองานแกะหัวสัตว์ หัวช้างไทย หัวช้างแอฟริกา ฯลฯ
2. ภาพลอยตัว เป็นการแกะสลักไม้ที่มองเห็นได้รอบด้านมักแก้เป็นพระพุทธรูป รูปคน รูปสัตว์หรือรูปตามคตินิยม ฯลฯ งานแกะสลักภาพลอยตัว เช่นแกะสลักรูปช้างไทย ช้างแอฟริกา สิงโต ม้า ฯลฯ
3. งานกลึง เป็นงานขึ้นรูปชิ้นงานด้วยเครื่องกลึงแทนที่จะเป็นสิ่ว และค้อน ผิวงานจะเป็นวงกลมหรือทรงกระบอก ได้แก่ ครก ฉาก ลูกกรงบันได ฐานฉัตรทอง แจกัน
4. แกะสลักแล้วประกอบ เป็นงานที่ชิ้นส่วนหลายชิ้นมาประกอบกัน ส่วนใหญ่จะมีเถาวัลย์เป็นส่วนประกอบด้วย งานลักษณะนี้ได้แก่ นก กระถางดอกไม้ ตระกร้าเถาวัลย์ ดอกทิวลิป รถชอปเปอร์
5. งานฉลุการวาดภาพลงบนแผ่นไม้ แล้วใช้ใบเลื่อย เลื่อยตามลวดลายที่วาดไว้เพื่อตัดไม้ในส่วนที่ไม่ต้องการออก เช่น เชิงชาย น้ำย้อย
สถานที่ตั้ง
บ้านหลุกหมู่ที่ ๖ , ๑๑ , ๑๒ ตำบลนาครัว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
โดย สุนันทา เจียมเงิน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น