วันอังคารที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ดนตรีบำบัดในผู้ป่วย

ท่านทราบหรือไม่ว่า การนำดนตรีมาใช้รักษาความเจ็บป่วย ได้มีมานานประมาณหลายพันปีแล้วในยุคกรีก ได้มีการศึกษาค้นคว้าวิจัย ผลของดนตรีในแง่การรักษาอย่างจริงจังมาประมาณกว่า 50 ปี แล้ว พบว่าดนตรีมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจของมนุษย์ สามารถนำมาใช้ร่วมกับการรักษาทางการแพทย์ได้ผลดีในเรื่องความเจ็บปวด ลดความวิตกกังวล ความกลัว เพิ่มกำลังการเคลื่อนไหว สร้างแรงจูงใจให้เกิดสติ ความนึกคิด อารมณ์ และจิตใจที่ดี ช่วยทำให้ร่างกายสดชื่นแข็งแรง ผ่อนคลาย และเป็นสุขได้โดยนิยมใช้ในห้องผ่าตัด ห้องคลอด หอผู้ป่วยมะเร็ง ICU ฯลฯ เป็นต้น
ข้อดีของการนำดนตรีมาใช้
1. เพื่อทำให้รู้สึกเจ็บปวดลดลง มีความทนทานต่อความเจ็บปวดได้มากขึ้น ลดความกลัวและใช้ยาน้อยลง
2. ทำให้ผู้ป่วยได้ผ่อนคลายจิตใจ มีความสุขเพลิดเพลิน ลืมความทุกข์ ความเจ็บปวดชั่วขณะ
3. ทำให้ผู้ป่วยมีทัศนคติที่ดีต่อทีมงานผู้รักษา แสดงออกในด้านดี
4. ช่วยทำให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวได้มากขึ้น
ขั้นตอนการใช้ดนตรีบำบัดเพื่อระงับอาการปวด
1. ต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้ป่วยก่อน ผู้ป่วยควรมีความพร้อมที่จะใช้วิธีดนตรีบำบัด
2. การสำรวจผู้ป่วยในเรื่องประสบการณ์ด้านดนตรี ประเภทเพลงที่ผู้ป่วยชอบ
3. จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่สบายที่สุด เจ็บปวดน้อยที่สุด
4. ควรอยู่ในห้องที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก อุณหภูมิเย็นสบาย ไม่มีเสียงรบกวน ปรับแสงสีในห้องให้เย็นตา
5. เลือกใช้เครื่องเสียงที่มีคุณภาพ ที่ผู้ป่วยจะสามารถใช้ได้เองด้วยตนเองตามสะดวกและปลอดภัย
6. จัดเจ้าหน้าที่คอยช่วยเหลือดูแล สอน ให้คำแนะนำ ให้กำลังใจผู้ป่วย ขณะที่ใช้วิธีการดนตรี
ลักษณะของดนตรีที่ใช้
1. ควรเป็นเพลงบรรเลง ไม่ควรมีเนื้อร้อง, มีเสียงธรรมชาติ เช่น เสียงนก น้ำตก ฯลฯ
2. มีจังหวะที่ช้า มั่นคง สม่ำเสมอ ขนาดช้าถึงปานกลางประมาณ 70-80 ครั้ง/นาที
3. ทำนองราบเรียบ นุ่มนวล ผ่อนคลายสดชื่น สอดคล้อง ระดับเสียงปานกลาง - ต่ำ
5. ความเข้มของเสียง ไม่ดังมาก ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของผู้ป่วย
6. ประเภทของดนตรีที่นิยม เช่น พิณ เปียโน กีต้าร์ วงออร์เคสตร้า แจ๊สแบบช้า นุ่มนวล Pop Classic
7. เป็นดนตรีที่ผู้ป่วยมีส่วนในการคัดเลือก และอาศัยความคุ้นเคย ความชอบของผู้ป่วยร่วมด้วย

ผลการศึกษางานวิจัยของ เสาวณีย์ สังฆโสภณ
โดย มันทนา กันสิทธิ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น