วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2553

อร่อยๆกับขนมล้านนา ๕

................สวัสดีครับพบกันเป็นครั้งที่ ๕ เรื่องเกี่ยวกับขนมล้านนา วันนี้ผมจะนำเสนอที่ทางเหนือเรียกกันว่า “ ขนมลิ้นหมา” หรือ “เข้าหนมเปี่ยง” หรือ “เข้าเปี่ยง” แต่ที่รู้จักดีก็ในชื่อ.ใใ.“ ขนมลิ้นหมา” เมื่อก่อนตอนผมเป็นเด็กผมได้ไปบ้านยายที่จังหวัดแพร่ การจะทำ “ ขนมลิ้นหมา” นั้น มีการนำข้าวเหนียวดำ หรือที่เหนือเรียกกว่า ข้าวกล่ำ ที่จะทำขนมมาตำด้วยครกกระเดื่องให้ได้แป้งละเอียด แล้วทำการล่อนแป้งนำแป้งที่ได้เติมน้ำแล้วนำมาตำในครกกระเดื่อง อีกครั้ง ซึ้งในขั้นต้อนนี้เป็นการนวดแป้งให้เข้ากัน ผมชอบช่วยตอนนี้ละครับเด็กๆช่วยกันเยียบครกกระเดื่อง ให้ผู้ใหญ่กลับแป้งตำไปเลื่อยๆจนเข้ากันหนืดได้ที่ ก็นำไปใส่ใบตอง นึ่งพอส่งออกมาร้อนๆ เอามากินกันอร่อยมากๆ บางคนก็เอามะพร้าวขูดใส่ แต่ปัจจุบันมีแป้งสำเร็จรูปไม่ต้องมานั่งตำ ทำให้ไม่มีการรวมญาติร่วมกันทำงานทำให้ความสัมพันธ์ในหมู่ญาติลดลง แต่ก็ยังดีนะครับว่าพอให้ “ ขนมลิ้นหมา” ทานได้ตามท้องตลาด ที่นี้เรามาเข้าขั้นตอนการทำว่าเข้าทำยังไงกัน มีส่วนประสมอะไรบางเผื่อผู้อ่านจะได้นำไปทำทานเองหรือทำไปทำบุญในช่วงเข้าพรรษานี้ก็ได้ครับ
..............ส่วนผสม
..............๑. แป้งข้าวเหนียวดำ ๓ ถ้วย
..............๒. แป้งข้าวเหนียวขาว ๑ ถ้วย
..............๓. น้ำตาลทราย ๒ ช้อนโต๊ะ
..............๔. เกลือป่น ๑ ช้อนชา
..............๕. มะพร้าวมะพร้าวขูด ๑ ถ้วย
..............ขั้นตอนการทำ
..............๑. ผสมแป้งข้าวเหนียวดำและขาว ใส่น้ำ นวดให้เข้ากัน
..............๒. ฉีกใบตองขนาด ๖ นิ้ว ทาน้ำมันบนใบตองให้ทั่ว
..............๓. วางแป้งลงบนใบตอง กดให้แบนและยาว
..............๔. พับใบตองซ้ายขวา พับหัวท้าย เป็นรูปสี่เหลี่ยม
..............๕. ใส่ขนมลงในลังถึงนึ่งประมาณ ๒๐ นาที
..............๖. นำขนมไปนึ่งให้สุก แกะใบตองออก นำมาคลุกกับมะพร้าวขูด โรยด้วยน้ำตาลทราย
เคล็ดไม่ลับ
...............- การนวดแป้งให้เหนียวจนหนืด ต้องค่อยๆ เติมน้ำ และนวดไปเรื่อยๆ ควรระวังไม่ให้แป้งเละจนเกินไป จะทำให้เสียรสชาติ
...............- การนึ่งโดยการตะแคงห้ช่อขนมจะทำให้สุกง่าย

ข้อมูลจาก
“อาหารพื้นบ้านล้านนา” บนเว็บไซต์ของศูนย์สนเทศภาคเหนือ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
http://library.cmu.ac.th/ntic/lannafood

สวัสดีครับ
เขียนโดย นายชิตพร พูลประสิทธิ์ นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง